มือใหม่อยากมีเว็บไซต์ แต่ไม่มีทุน ไม่ต้องกลัว สร้างเว็บไซต์เอง ฟรี มือใหม่ก็ทำได้ มาดูการเตรียมตัวก่อนสร้างเว็บไซต์กัน
เว็บไซต์เป็นของตัวเอง
หากอยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง มาทำความรู้จักกับเว็บไซต์กัน
เว็บไซต์ คือ สื่อนำเสนอข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการรวบรวม หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ซึ่งต้องเปิดด้วยโปรแกรมเฉพาะทางที่เรียกว่า Web Browser โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ และเว็บไซต์นั้นถูกสร้างขึ้นด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language)
ได้มีการพัฒนาและนำภาษาอื่นๆเข้ามาร่วมด้วย เพื่อให้มีความสามารถมากขึ้น เช่น PHP , SQL , Java ฯลฯ โดยเว็บไซต์นั้นมีไว้เพื่อแสดงข้อมูลที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ทำเว็บไซต์นั้นๆ เช่น แสดงข้อมูลข่าวสารต่างๆ , ข้อมูลบริษัท , ขายสินค้า เป็นต้น
5 เรื่องสำคัญที่ต้องเตรียมก่อนทำเว็บไซต์
ตั้งเป้าหมาย (objective) ให้ชัด
“เริ่มต้นว่าทำมันทำไม” เราต้องการทำเว็บไซต์ใหม่เพื่ออะไร? ยกตัวอย่างเช่น
-เพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้า
-เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย
-เพื่อเป็นที่เก็บข้อมูลคนที่สนใจสินค้าหรือบริการของเราและเป้าหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและตอบโจทย์ธุรกิจของเรา
ตรวจสอบว่าเรามีสินทรัพย์อะไรบ้าง
เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เราต้องรู้ว่าตอนนี้ในมือเรามีสินทรัพย์ หรือ asset อะไรบ้างที่สามารถนำมาใช้กับเว็บไซต์ใหม่ได้ เช่น รูปถ่ายของสินค้า วิดีโอบรรยากาศสถานที่ของเรา หรือแม้แต่เรื่องพื้นฐานอย่างเรื่อง logo และ Corporate Identity (CI) ต่าง ๆ ที่มันสำคัญ
เพราะเมื่อเราตรวจสอบข้อนี้แล้ว เราจะได้รู้ว่าเรายังขาดอะไรไปบ้าง เพื่อตอนวางแผนขั้นต่อไป เราจะได้รู้ว่าเราต้องแจกจ่ายงานให้ใครผลิตและจัดหาอะไรที่เรายังขาดอยู่บ้าง ซึ่งการที่ต้องผลิต asset พวกนี้เพิ่มจะมีผลต่อการวางงบประมาณของเราต่อไปด้วย
ทำการบ้านเรื่องกลุ่มเป้าหมาย
ถ้าเราไม่ใช่หน่วยงานราชการ การบอกว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นประชาชนนั้น มีโอกาสที่จะเป็นไปไม่ได้ แนะนำให้ตั้งเป้าหมายหลัก เป้าหมายรอง ของเราให้ชัดเจนไปเลยดีกว่า เราจะได้ทำการบ้านให้ถูกกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น
-พวกเขาอยู่ในอายุเท่าไหร่
-เข้าเว็บไซต์ผ่านมือถือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่ากัน
-แนวโน้มในการเข้าใจการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของเว็บไซต์เป็นอย่างไร เช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็น Gen Y การนำเสนอเว็บไซต์ที่มีลูกเล่นสนุกสนานอาจจะเหมาะสม ในขณะที่ถ้ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นวัยหลังเกษียณเราควรต้องเน้นให้ใช้งานง่ายที่สุดเพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของเรา
จัดเตรียมเนื้อหาหลักที่ต้องการนำเสนอ
ต่อเนื่องจากข้อ 3 เมื่อเราตรวจสอบแล้วว่าเรามี asset อะไรบ้างที่นำมาใช้งานได้ และมีอะไรบ้างที่ต้องผลิตใหม่ ขั้นต่อไปก็คือจัดเตรียมเนื้อหาสำคัญที่จะนำเสนอในเว็บไซต์ หากเราต้องการทำเว็บไซต์ e-commerce เราต้องจัดเตรียมในเรื่องของ รูปสินค้า รายละเอียดสินค้า ราคา ระยะเวลาการจัดส่งต่าง ๆ ให้พร้อมเพื่อนำขึ้นเว็บไซต์ต่อไปเมื่อระบบต่าง ๆ พร้อมใช้งานแล้ว
ตั้งงบประมาณที่เหมาะสมกับธุรกิจของเรา
ข้อปิดท้ายที่สำคัญที่สุด คือเราควรตั้งงบประมาณที่เหมาะสมไว้ด้วย หากธุรกิจของเราเพิ่งเริ่มต้นเราอาจจะไม่ได้มีงบประมาณเยอะมาก แน่นอนว่าใคร ๆ ก็อยากได้งานดี ๆ จัดเต็ม แต่งบไม่สูงมาก การตั้งงบประมาณไว้จะช่วยให้เราเองกำหนดขอบเขตงานของเราได้ อะไรที่ดูจะฟุ้งเกินไปแล้วทำให้ค่าใช้จ่ายบาน เราจะได้ตัดออกได้
สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อจะทำเว็บไซต์
มาดูกันว่า การที่เราจะมีเว็บไซต์ได้จะต้องมีอะไรบ้าง โดยจะมี3อย่างหลักๆนั้นก็คือ
Website Software/ Code
อย่างแรก เราจะต้องเขียนเว็บไซต์ด้วย ภาษาโปรแกรมมิ่ง โดยภาษาที่นิยมใช้สำหรับทำเว็บไซต์ก็จะมี HTML (HyperText Markup Language), CSS (Cascading Style Sheets), PHP (Hypertext Preprocessor) เป็นต้น ส่วนใหญ่เว็บไซต์ที่เราเห็นทุกวันนี้ มักจะถูกสร้างขึ้นมาด้วยซอฟแวร์CMS อย่าง WordPress, Joomla, drupal หรือเครื่องมือ สร้างเว็บไซต์ผ่านระบบคลาวด์ที่มีโฮสต์และเครื่องมืออย่างเต็มรูปแบบ เช่น Wix, GoDaddy
แพลตฟอร์มเหล่านี้มักจะมีการเขียนด้วยภาษาโปรแกรมมิ่งเช่นกัน ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับโค้ดเหล่านั้น เพราะผู้พัฒนาได้สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้งาน สามารถใช้งานได้ง่าย เหมาะสำหรับคนที่ไม่ถนัดหรือไม่เก่งทางด้านการเขียนโค้ด ก็สามารถพัฒนาเว็บไซต์ของตัวเองได้
เครื่องมือที่ผู้เขียนอยากจะแนะนำให้ใช้ในการพัฒนาอีกตัวก็คือ WordPress ซึ่งเป็นตัวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยจากผลสำรวจของเว็บไซต์ w3techs.com ในเดือนมกราคม2022 ได้ระบุว่ามีผู้ใช้งาน WordPress มากถึง 43.3% เพราะการใช้งานหลังบ้านของตัว WordPress ที่ใช้งานง่ายกว่าตัวอื่น และยังสามารถขยายขอบเขตการทำงานได้มากเพราะมีปลั๊กอินให้เลือกใช้หลากหลาย อีกทั้งยังมีผู้ให้บริการออกแบบเว็บไซต์ผ่าน WordPress ที่เชี่ยวชาญมากมายในไทย
Domain Name
โดเมนคือชื่อเว็บไซต์ของคุณ เพื่อบ่งบอกตำแหน่งของเว็บไซต์อีกทั้งยังเป็นเหมือนทางเข้าสำหรับเข้ามาชมเว็บไซต์หรือข้อมูลสินค้าของคุณ โดเมนนั้นเปรียบเสมือน บ้านเลขที่ ที่ต้องมีเพื่อให้เจ้าหน้าที่ขนส่งสามารถมาที่บ้านของคุณได้อย่างถูกต้อง โดยคุณจะต้องจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์ของคุณ กับบริษัทผู้ให้บริการจดโดเมน ซึ่งในประเทศไทยของเรานั้นก็มีบริษัทผู้ให้บริการจดโดเมนอยู่มากมาย และราคาก็จะแตกต่างกันไปตามชื่อโดเมนที่คุณตั้ง เมื่อคุณป้อนที่อยู่เว็บบนเบราว์เซอร์ เบราว์เซอร์จะนำทางไปยังตำแหน่งของเว็บไซต์คุณค้นหา และแสดงข้อมูลออกมา
Web Hosting
เว็บโฮสติ้ง หรือ เซิร์ฟเวอร์ คือตำแหน่งที่จัดเก็บไฟล์และเนื้อหา ที่คุณออกแบบและเขียนไว้ในตอนแรก โดยเว็บโฮสติ้งจะประกอบด้วยหน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่และโปรเซสเซอร์ที่ทรงพลังอย่างมาก หลักการทำงาน เมื่อคุณป้อนที่อยู่ของเว็บบนเบราว์เซอร์ มันจะเริ่มค้นหาเว็บไซต์นั้น ๆ บนเซิร์ฟเวอร์ที่เราจัดเก็บเอาไว้ และหลังจากนั้นเว็บเบราว์เซอร์จะดึงเอาไฟล์เว็บไซต์และโค้ด HTML จากเซิร์ฟเวอร์เหล่านั้นและจัดรูปแบบแสดงไฟล์ดังกล่าวบนหน้าต่างเบราว์เซอร์ อย่างสวยงาม
สรุป
การทำเว็บไซต์นั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่เราต้องรู้ว่าเราจะสร้างไปทำไม สร้างแล้วเราจะได้อะไรกลับมา ซึ่งขั้นตอนการทำเว็บไซต์นั้นมีให้ศึกษาอยู่ในอินเตอร์เน็ตอยู่มาก เพียงแค่เราทำความเข้าใจกันไปในแต่ละขั้นตอนเราก็จะสามารถสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้แล้ว
ผู้ประกอบการท่านใด ต้องการเดินบนเส้นทางธุรกิจออนไลน์ ปรึกษา Exvention ได้เลยครับ นอกจากนี้เรายัง รับทำเว็บไซต์ อีกด้วยท่านใดสนใจติดต่อเราได้เลยครับ
references:
เว็บไซต์ (Website) คืออะไร?
หากคุณกำลังหาที่สำหรับ รับทำเว็บไซต์ มีสิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนเริ่มทำ
5 เรื่องสำคัญที่ต้องเตรียมก่อนทำเว็บไซต์