อยากออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน อาจจะต้องเข้าใจความหมายของคำว่า Usability ก่อน เพราะจะส่งผลโดยตรงกับความรู้สึกและการตัดสินใจของผู้ใช้งานว่าควรจะใช้งานต่อไปหรือไม่ มาทำความเข้าใจและเรียนรู้ไปกับ 10 Usability ศาสตร์การออกแบบ UX/UI ขั้นเทพ
Usability คืออะไร
Usability เป็นตัวแสดงถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ว่าใช้งานง่ายขนาดไหน ความยากหรือง่ายนั้นจะส่งผลโดยตรงกับความรู้สึกและการตัดสินใจของผู้ใช้งานว่าจะใช้งานผลิตภัณฑ์นี้ต่อไปหรือไม่
Usability ที่ดี มีองค์ประกอบอยู่ 5 อย่าง
1. เข้าใจง่าย
ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก
2. ใช้งานไม่ติดขัด
ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างลื่นไหล สะดวก และรวดเร็ว
3. คนจำวิธีใช้ได้
ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องฝึกใช้งาน หากต้องกลับมาใช้อีกรอบ
4. มีข้อผิดพลาดน้อย
ผู้ใช้งานไม่ค่อยเจอกับข้อผิดพลาด หากผิดพลาดแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
5. รู้สึกชอบ
ผู้ใช้งานใช้แล้วรู้สึกดี ดีไซน์ถูกใจ
ดีไซน์ UX/UI ต้องเข้าใจทั้งศาสตร์และศิลป์
การออกแบบและพัฒนา UX/UI จึงถือเป็นการผสมผสานความรู้ทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของศิลปะที่เน้นการออกแบบหน้าเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ให้มีหน้าตาที่สวยงามเพียงอย่างเดียว ต้องนำไปใช้งานได้ด้วย สามารถทำให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกและใช้งานได้ง่าย เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน
สำหรับคำว่า UI = User Interface หมายถึง หน้าตาของ Digital Platform ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ทำการออกแบบหรือดีไซน์ขึ้นมา UX = User Experience หรือเพิ่มประสบการณ์ที่ดีสำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งนำไปสู่การสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าของแต่ละแบรนด์
10 Usability Heuristic Principles
1. Visibility of system status การสื่อสารระหว่างระบบกับผู้ใช้งาน
ระบบจะต้องสื่อสารกับผู้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง และทำให้ผู้ใช้งานเกิดความเชื่อใจที่จะใช้งานต่อ ควรออกแบบระบบให้แสดงการตอบกลับในเวลาที่เหมาะสมให้ผู้ใช้งานเห็นตอนที่ตัวเองกำลังใช้งานอยู่หากไม่มีการตอบสนอง ผู้ใช้งานอาจจะคิดว่าระบบ ค้าง หรือ พัง เช่นการอัพโหลดไฟล์ควรจะต้องมีปฏิกิริยา
ก่อนอัพโหลด, ตอนกำลังอัพโหลด, และผลการอัพโหลด ควรบอกผู้ใช้งานว่าตอนนี้กำลังทำอะไรอยู่ ตอนไหนที่ต้องรอให้ระบบทำงาน ตอนไหนที่ระบบทำงานเสร็จแแล้ว
2. Match between system and the real world จัดการความคาดหวังของผู้ใช้งาน
คนคาดหวังว่าประสบการณ์บนโลกดิจิตัลจะใกล้เคียงกับโลกความเป็นจริง เช่น การส่งข้อความออนไลน์ก็จะใกล้เคียงกับการส่งจดหมาย, การไฮไลท์ข้อความต้องเหมือนกับตอนที่ใช้ปากกาขีด เป็นต้น อะไรที่คนทำตามความเคยชินมันจะง่าย ควรออกแบบ UI โดยยึดตามสิ่งที่คนคุ้นเคยอยู่แล้ว เพราะจะต้องไม่ต้องเรียนรู้อะไรใหม่และเข้าใจวิธีการใช้งานได้ทันที เช่นออกแบบ UI โดยเลียนแบบสิ่งของในโลกความเป็นจริงเพื่อที่จะได้เห็นแล้วเชื่อมโยงได้เลยว่าอะไรคืออะไร ภาษาที่ใช้ในเว็บไซต์หรือแอป ควรใช้ภาษาที่คนทั่วไปพูด อย่าพยามใช้ภาษาคอมพิวเตอร์หรือภาษาแปลกๆ คำเฉพาะที่คนไม่เข้าใจ
3. User control and freedom อย่าให้ผู้ใช้งานต้องเหนื่อย
ตอนที่อยากจะย้อนกลับเวลากดหรือทำอะไรพลาดในระบบ ควรออกแบบให้มีปุ่มย้อนกลับ เลิกทำ ทำซ้ำ เสมอ ตอนที่ผู้ใช้งานทำอะไรพลาด UI ควรจะต้องมีทางออกฉุกเฉิน, โชว์วิธีแก้/วิธีย้อนกลับที่ผู้ใช้งานทำได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนอะไรมากมาย
4. Consistency and standards ควรออกแบบให้ไปในทิศทางเดียวกัน
ถ้าปุ่มแรกเป็นยังไง ตอนที่ปุ่มประเภทเดียวกันไปอยู่อีกหน้าก็ควรเป็นแบบเดียวกัน และพยายามอย่าออกแบบ UI ที่ไม่เคยมีมาก่อน ถ้าเป็นไปได้ให้ออกแบบตามพื้นฐานของแต่ละแพลตฟอร์ม
วางรูปแบบและโครงสร้างเช่น ถ้าเมนูอยู่ด้านซ้าย ควรให้อยู่ซ้ายตลอดทั้งระบบ ถ้าปุ่มสั่งการอยู่ด้านบนขวา ก็ต้องอยู่บนขวาตลอด การใช้รูปแบบซ้ำๆ จะทำให้คนจำได้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน สร้างระบบการออกแบบเพื่อวางแนวทางในการออกแบบ UI เพื่อให้การออกแบบไปในทิศทางเดียวกัน
5. Error prevention พยายามออกแบบเผื่อดักข้อผิดพลาด
เช่นฟอร์มแสดงคำเตือน ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หากผู้ใช้งานทำอะไรผิดเงื่อนไข เตือนหรือป้องกัน
ผู้ใช้งานก่อนจะเผลอทำอะไรที่ไปสร้างประสบการณ์แย่ๆ เช่น ออกแบบโดยจำกัดทางเลือกผู้ใช้งานตรงไหนที่คิดว่าผู้ใช้งานทำแล้วจะเจอข้อผิดพลาดก็ให้ไปบล็อกช่องทางนั้น
6. Recognition rather than recall พยายามอย่าให้ผู้ใช้งานต้องจำเยอะ
พยายามโชว์ข้อมูลบนหน้าจอแทนที่จะบังคับให้ผู้ใช้งานจำในสมอง หรือต้องใช้เวลาคิดว่าข้อมูลคืออะไร
7. Flexibility and efficiency of use อำนวยความสะดวกให้กลุ่มผู้ใช้มืออาชีพ
ควรออกแบบระบบให้เหมาะกับการใช้งานของผู้ใช้งานหลายๆ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น สามารถใช้งานฟังก์ชั่นตามวิธีปกติได้ และก็มีทางเลือกให้ผู้ใช้มืออาชีพใช้ฟังก์ชั่นในวิธีที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วกว่า
มีฟังก์ชั่นสำหรับกลุ่มผู้ใช้มืออาชีพโดยเฉพาะ โดยฟังก์ชั่นนี้เป็นเหมือนตัวเลือกเสริม คนที่ยังเป็นผู้ใช้งานระดับเริ่มต้น อาจจะไม่ได้สังเกตเห็นว่ามีฟังก์ชั่นนี้อยู่ แต่ก็ยังใช้งานด้วยวิธีพื้นฐานได้
8. Aesthetic and minimalist design ออกแบบโดยเน้นความเรียบง่าย
มีข้อมูล การตกแต่ง การใช้สีทุกอย่างเท่าที่จำเป็น ข้อมูลตรงไหนซ่อนได้ให้ซ่อนไว้
หลีกเลี่ยงการใส่ตัวหนังสือที่ไม่จำเป็น เพราะทำให้เกิดสิ่งรบกวนบนหน้าจอ
9. Help users recognize, diagnose, and recover from errors
เวลาที่ผู้ใช้งาน เจอข้อผิดพลาดต่างๆ ให้บอกกับผู้ใช้งานให้ชัดเจนด้วยว่าผู้ใช้งานทำอะไรผิดและจะต้องทำอย่างไรถึงจะแก้ไขได้
10. Help and documentation
ถ้าระบบซับซ้อน อาจจะต้องมีลิงค์ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้
ตอนที่ผู้ใช้งานต้องการความช่วยเหลือ และอย่าแสดงความช่วยเหลือในตอนที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการ หรือระหว่างที่ผู้ใช้งานอยากทำอย่างอื่น
เรื่องต้องรู้ก่อนพัฒนา UX/UI
1. Understand Your User ต้องรู้ว่าผู้ใช้งานเป็นใคร รวมทั้งต้องเข้าใจเส้นทางของผู้ใช้ด้วย
อย่าเชื่อผู้ใช้งาน เวลาได้ข้อมูลต่างๆ จากผู้ใช้อย่าเพิ่งรีบเชื่อ ต้องถามตัวเองก่อนว่า ผู้ใช้เป็นใคร ต้องการอะไร สิ่งต่างๆที่ผู้ใช้ตอบกลับมาเพราะต้องการอะไร เพราะมีหลายครั้งที่เวลาเปลี่ยน UI ตามที่ผู้ใช้ตอบกลับแต่เมื่อใช้ไปได้สักระยะก็ต้องกลับมาสู่รูปแบบเดิม ทำให้เสียเวลา รวมทั้งเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์
2. Understand Your Value ต้องรู้ว่าคุณค่าที่เรามีคืออะไรบ้าง
หลายคนเคยพัฒนาแอปที่มีฟีเจอร์มากมาย แต่ไม่ค่อยมีคนใช้ ทั้งๆที่ก่อนทำ มีหลายคนบอกว่าต้องการ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้แก้ได้ด้วยการเข้าใจเรื่องของคุณค่า
การมีฟีเจอร์มากไม่ได้แปลว่ามีคุณค่ามาก เพราะหากผู้ใช้ไม่ชอบหรือรู้สึกลำบากในการใช้งานก็เท่ากับเป็นอุปสรรค แต่ถ้าฟีเจอร์น้อยแล้วผู้ใช้งานพอใจกลับเป็นแอปที่มีคุณค่ามากกว่า จึงต้องหาให้เจอก่อนว่าคุณค่าที่แท้จริงนั้นคืออะไร
3. Understand Your Stakeholders ต้องรู้ว่าคนที่ต้องการให้พัฒนาแอปขึ้นมาต้องการอะไร
เมื่อเข้าใจถึงความต้องการของคนให้พัฒนาแอปขึ้นมาว่า ต้องการพัฒนาแอปนี้ขึ้นมาเพราะอะไร เช่น ต้องการทำกำไร หรือมีความหลงใหลต่อบางสิ่งบางอย่าง หรืออยากเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง จะทำให้รู้เป้าหมายในการพัฒนาแอปว่าทำเพื่ออะไร และจะสามารถประเมินทั้งระยะเวลา และกำลังต่างๆ ที่ต้องใช้อย่างเหมาะสม
สรุป
10 Usability Heuristic Principles 1. การสื่อสารระหว่างระบบกับผู้ใช้งาน 2. จัดการความคาดหวังของผู้ใช้งาน 3. อย่าให้ผู้ใช้งานต้องเหนื่อย 4. ควรออกแบบให้ไปในทิศทางเดียวกัน 5. พยายามออกแบบเผื่อดักข้อผิดพลาด 6. พยายามอย่าให้ผู้ใช้งานต้องจำเยอะ 7. อำนวยความสะดวกให้กลุ่มผู้ใช้มืออาชีพ 8. ออกแบบโดยเน้นความเรียบง่าย 9. เวลาที่ผู้ใช้งาน เจอข้อผิดพลาดต่างๆ ให้บอกกับผู้ใช้งานให้ชัดเจน 10. ถ้าระบบซับซ้อน อาจจะต้องมีลิงค์ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ การออกแบบและพัฒนา UX/UI จึงถือเป็นการผสมผสานความรู้ทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของศิลปะที่เน้นการออกแบบหน้าเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ให้มีหน้าตาที่สวยงามเพียงอย่างเดียว ต้องนำไปใช้งานได้ด้วย
ผู้ประกอบการท่านใด ต้องการเดินบนเส้นทางธุรกิจออนไลน์ ปรึกษา Exvention ได้เลยครับ นอกจากนี้เรายัง รับทำเว็บไซต์ อีกด้วยท่านใดสนใจติดต่อเราได้เลยครับ
Reference :
10 หลักการออกบบ Usability
7 ขั้นตอน UX DESIGN สำหรับ STARTUP มือใหม่
Usability คืออะไร?
ทำธุรกิจให้ลูกค้ารัก ยุคนี้ต้องเข้าใจ UX/UI ก่อนสอบตกเรื่อง Customer Experience