Emotional Marketing

เข้าใจ Emotional Marketing การตลาดที่อ้างอิงจากความรู้สึกลูกค้า

สิ่งสำคัญในการตลาดนั้นก็คือการมีความรู้และความเข้าใจ เมื่อเราอยากให้ลูกค้าเข้าใจในสินค้าของเรา เราก็ควรที่จะเรียนรู้ถึงการเผยแพร่งานของเราว่าทำอย่างไรให้ลูกค้า เข้าใจและมีความรู้สึกต่อสินค้าของเรา วันนี้พามา รู้ และเข้าใจเกี่ยวกับ Emotional Marketing การตลาดที่อ้างอิงจากความรู้สึกลูกค้า ว่าจะสามารถพาเราพัฒนาสินค้าของเราได้มากน้อยเพียงใด

 

 

Emotional Marketing คืออะไร

การตลาดที่อ้างอิงจากความรู้สึกลูกค้า คือการตลาดประเภท Content Marketing โดยจะเข้าไปสร้างอารมณ์และความรู้สึกกับผู้บริโภค ทำให้พวกเขาเห็นว่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ สามารถให้ผลลัพธ์ที่มากกว่าผลลัพธ์ทั่วไป อีกทั้งยังเป็นการสร้างความรู้สึกร่วมโดยทำให้ผู้บริโภครู้สึกไปกับเรื่องราวของตนเอง ผ่านเรื่องราวที่นำเสนอจากโฆษณานั้น ๆ โดยจะส่งผลถึงความคิด ความเชื่อและประสบการณ์ที่เคยพบเจอ ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์อีกด้วย

 

ทำไมถึงควรทำการตลาดที่อ้างอิงจากความรู้สึกลูกค้า 

นักวิจัยหลายประเทศได้ทำการศึกษาสมองของลูกค้าขณะกำลังเลือกซื้อสินค้าต่างๆ แล้วพบว่า ลูกค้าใช้อารมณ์ในการตัดสินใจซื้อสินค้า ยิ่งกว่าใช้เหตุผลหรือข้อมูลที่ร้านให้มา โดยอารมณ์หรือความรู้สึกที่ว่ามานั้นก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในชีวิตของคนแต่ละคน

ดังนั้น หากเราขายสินค้าแล้วนำเสนอแต่ข้อมูลของสิ่งนั้นอย่างห้วนๆ ไม่น่าสนใจ ไม่ดึงดูด ลูกค้าก็จะไม่เกิดความสนใจในสินค้าของเราเท่าที่ควร ลูกค้าจะรู้สึกเบื่อเพราะในแต่ละวันจะมีแต่ข้อมูลต่างๆ ถาโถมเข้ามามากมาย ทำให้ลูกค้าอาจจะไม่เลือกซื้อสินค้าหรือบริการของเรา

ดังนั้น เราจะทำอย่างไรดีให้ลูกค้ามี ‘อารมณ์ร่วม’ กับสินค้าหรือบริการของเรา

 

กลยุทธ์การตลาดของ Emotional Marketing

การตลาดที่อ้างอิงจากความรู้สึกลูกค้า คือกลยุทธ์ทางการตลาด ที่ใช้อารมณ์ของผู้บริโภคมาเป็นแกนสำคัญ ในการทำให้เกิดการจดจำ การรับรู้ การบอกต่อ และยังรวมถึงทำให้เกิดการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ จากแบรนด์

ผ่านอารมณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ของมนุษย์ ซึ่งล้วนส่งผลต่อการรับรู้ และการตัดสินใจ ของผู้บริโภคทั้งสิ้น ในทางที่แตกต่างกัน ได้แก่

 

1. ความสุข รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ

ความสุข เป็นอารมณ์ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็อยากจะมี จึงทำให้แบรนด์ต่าง ๆ เลือกใช้ “ความสุข” เป็นหนึ่งอารมณ์ที่ใช้ในกลยุทธ์การตลาดแบบEmotional Marketing

เพราะไม่ว่าใคร ๆ ก็อยากซื้อสินค้า ที่ส่งผลต่อความสุขให้กับชีวิตอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า คอนเทนต์ต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ ที่บอกเล่าถึงความสุข รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ จะสามารถใช้ในการดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี แถมยังมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากกว่าคอนเทนต์อื่น ๆ อีกด้วย จากความต้องการ ในการ “สะท้อน” อารมณ์ความสุขของตัวเอง ให้กับคนอื่น ๆ ได้รับรู้ ทำให้คอนเทนต์ประเภทนี้ ได้รับการส่งต่ออย่างรวดเร็ว

 

2. ความกลัว

ความกลัว เป็นหนึ่งในอารมณ์ด้านลบ ที่มนุษย์ทุกคนหลีกเลี่ยง และไม่มีใครอยากเจอด้วยตัวเอง

กลยุทธ์การตลาดแบบEmotional Marketing ที่เลือกใช้ความกลัวนี้ จึงพุ่งเป้าไปที่การสื่อสารข้อความต่าง ๆ ที่ตรงกับความกลัว ซึ่งเป็น Pain Point หรือประสบการณ์ตรง และความเชื่อ ของผู้บริโภคแต่ละคนโดยแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์การตลาดในลักษณะนี้ จะสามารถสื่อสารถึงแนวทางการแก้ไขความกลัวนั้นให้กับผู้บริโภคได้ โดยในอีกมุมหนึ่ง แบรนด์จะกระตุ้นให้ผู้บริโภค รับรู้ถึงปัญหา หรือความกลัวที่กำลังเผชิญอยู่แล้ว แต่อาจยังไม่เคยสังเกต หรือรับรู้ถึงปัญหานั้น ตัวอย่างของการใช้ความกลัวนี้ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดแบบEmotional Marketing ก็คือ โฆษณาของแบรนด์เครื่องสำอางต่าง ๆ ที่บอกเล่าถึงปัญหาของผิว ที่ผู้บริโภคต้องเจอ ไม่ว่าจะเป็น สิว ฝ้า หรือหน้ามัน ซึ่งหากใช้ผลิตภัณฑ์ ของแบรนด์แล้ว ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างหมดจด หรือแม้แต่โฆษณาระบบความปลอดภัยของรถยนต์ ที่มีระบบป้องกันการชน ระบบเตือนเมื่อรถยนต์ออกนอกเลน ซึ่งช่วยป้องกันอุบัติเหตุ และรักษาชีวิตของเจ้าของรถยนต์ได้

 

3. ความโกรธ

แม้ความโกรธ จะเป็นอารมณ์ในด้านลบของมนุษย์ แต่แบรนด์ต่าง ๆ ก็สามารถนำมาใช้กับกลยุทธ์การตลาดแบบEmotional Marketing ของตัวเองได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความโกรธของคน ที่มีต่อปัญหาต่าง ๆ รอบตัว เช่น เรื่องความไม่เท่าเทียม หรือสิ่งที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง เราจึงได้สังเกตเห็นแบรนด์ต่าง ๆ ใช้ความโกรธ ไปกับการสื่อสารการตลาด ในโครงการรณรงค์เพื่อสังคมต่าง ๆ

 

4. ความมีส่วนร่วม

มนุษย์ เป็นสัตว์สังคม ที่มีพฤติกรรมการรวมตัวอยู่กันเป็นกลุ่มเป็นก้อนเพื่อความปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการอยู่ตัวคนเดียวอย่างโดดเดี่ยว มนุษย์จึงมีความต้องการที่จะมีส่วนร่วม เป็นเจ้าของ และได้รับการยอมรับ ตามทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ของ Maslow

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ของแบรนด์ที่นำเอา “ความมีส่วนร่วม” ไปใช้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดแบบEmotional Marketing คือ Apple เพราะนับตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน Apple เป็นแบรนด์ที่มองเห็นกลุ่มผู้ใช้งาน ที่ทำงานด้านการสร้างสรรค์เป็นหลัก เช่น คนทำงานเกี่ยวกับการออกแบบกราฟิก คนทำงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยที่มีคอมพิวเตอร์อย่าง Mac ของ Apple เป็นเครื่องมือในการทำงาน ทำให้ในปัจจุบัน คนที่ทำงานด้านการออกแบบ และการสร้างสรรค์ จึงเลือกใช้คอมพิวเตอร์อย่าง Mac ของ Apple และแทบจะเรียกได้ว่า Apple เป็นผู้รวมกลุ่มคนเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน กลายเป็นสังคมผู้ใช้งานของ Apple ขนาดย่อม ๆ ก็ว่าได้

หรือในยุคที่ iPhone ได้รับความนิยมอย่างมาก Apple ก็สร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ของผู้ใช้งาน iPhone รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ Apple ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในระบบนิเวศของ Apple สามารถใช้ฟีเชอร์ต่าง ๆ ได้มากกว่า เป็นเหมือนการสร้างความมีส่วนร่วม และการได้รับการยอมรับของผู้ใช้งาน

 

5. ความโลภ อยากได้ อยากมี

แน่นอนว่าหนึ่งในเป้าหมายทางการตลาดที่แบรนด์ต่าง ๆ ต้องการ คือการกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของแบรนด์

โดยหนึ่งในอารมณ์ที่จะสามารถกระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้นั้น คือความโลภ และความอยากได้ อยากมี ซึ่งเป็นหนึ่งในอารมณ์ที่ซ่อนอยู่ในตัวของผู้บริโภคทุกคน ด้วยการเลือกใช้ถ้อยคำต่าง ๆ เช่น “ซื้อ 1 แถม 1”, “ลดราคาสูงสุด 50%” และ “ด่วน สินค้ามีจำนวนจำกัด” หรือแม้แต่การเลือกใช้การนับถอยหลังช่วงเวลาที่จัดโปรโมชัน เป็นต้น ซึ่งเป็นถ้อยคำที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง ในโฆษณาต่างๆบนโลกออนไลน์

ในอีกมุมหนึ่ง ถ้อยคำเหล่านี้ ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภค รู้สึกถึงความ “หายาก” ของสินค้า ทำให้ผู้บริโภคไม่อยากพลาดของดี ๆ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า Fear of Missing Out (FOMO)

 

6. แรงบันดาลใจ

โดยแรงบันดาลใจในที่นี้ คือแรงบันดาลใจ ที่แบรนด์ต่าง ๆ สื่อสารถึงผู้บริโภค ที่ต้องการเปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ที่ดีขึ้น

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ พบว่า โฆษณาที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้บริโภค จะได้รับความสนใจมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง ตัวอย่างของแบรนด์ที่นำแรงบันดาลใจ เข้าไปเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ Emotional Marketing นั้นก็คือ Nike ที่บอกเล่าถึงแรงบันดาลใจ ที่อยากจะส่งต่อให้กับผู้บริโภค ผ่านสโลแกน “Just Do It”

โดยที่ Nike ไม่ได้ชูจุดเด่นด้านผลิตภัณฑ์ของตัวเองเลยแม้แต่น้อย เพียงแค่แสดงออกถึงความต้องการที่จะสร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้บริโภค “ลงมือทำ” ด้วยการเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ตัวเองชอบ เป็นแรงบันดาลใจให้ไปสู่เป้าหมายสำคัญที่ได้วางเอาไว้ และเมื่ออ่านมาจนถึงจุดนี้ จึงไม่น่าแปลกใจ ว่าทำไมในหลาย ๆ ครั้ง ผู้บริโภคหรือคนทั่วไป แม้จะพยายามตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าด้วยเหตุผล อย่างเช่น ความจำเป็น ประโยชน์ใช้สอย รวมถึงราคา มากเพียงใด แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นสำคัญในการตัดสินใจมากที่สุด ก็คือ “อารมณ์” ที่ถูกกระตุ้นโดยกลยุทธ์การตลาดแบบ Emotional Marketing แทน

 

สรุป

การที่เราทำการตลาดเเล้วเข้าใจในการทำ การตลาดที่อ้างอิงจากความรู้สึกลูกค้า นั้นสามารถทำให้เราทำงานออกมาได้ตอบโจทย์ของลูกค้าเป็นอย่างมาก เพราะก่อนที่ลูกค้าจะซื้อสินค้าหรือสนใจในสินค้าของเรานั้น เขาต้องผ่านความรู้และความเข้าใจในสินค้าของเราก่อน ถ้าเรานำเสนอมันออกมาให้เขา รู้สึกถึง หรือเข้าใจได้ นั้นจะเป็นอีกก้าวที่พาเราเข้าใกล้ความสำเร็จ

 

ผู้ประกอบการท่านใด ต้องการเดินบนเส้นทางธุรกิจออนไลน์ ปรึกษา Exvention ได้เลยครับ นอกจากนี้เรายัง รับทำเว็บไซต์ อีกด้วยท่านใดสนใจติดต่อเราได้เลยครับ

 

Reference :
รู้จัก Emotional Marketingการตลาดที่อ้างอิงจากหัวใจลูกค้า
เข้าไปอยู่ในหัวใจของผู้บริโภคด้วยการทำEMOTIONAL MARKETING
รู้จักกับ Emotional Marketingกลยุทธ์การตลาด ที่กระตุ้นการตัดสินใจด้วย “อารมณ์” ไม่ใช่เหตุผล

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *