จากโพสต์เรื่อง Metaverse ที่เคยโพสต์ไปก่อนหน้านี้ ในที่สุดพี่มาร์กก็รีแบรนด์ตามที่มีข่าวเรียบร้อยแล้วในบริษัทที่ชื่อ Meta
หลังจากได้ยินกันมาสักพัก และจาก The Verge รายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้ว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กำลังวางแผนที่จะเปลี่ยนชื่อบริษัท Facebook ในสัปดาห์หน้าเพื่อสะท้อนถึงการมุ่งเน้นที่จะสร้าง Metaverse
ล่าสุด Facebook ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta เรียบร้อย เพื่อสะท้อนวิสัยทัศน์บริษัทสู่การเป็นแพลตฟอร์ม Metaverse โดยการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลเฉพาะชื่อบริษัทเท่านั้น ตัวผลิตภัณฑ์ Facebook จะยังใช้ชื่อเดิม จากการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เห็นถึงความต้องการก้าวกระโดดของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีที่ต้องการให้เป็นที่รู้จักมากกว่า Social Media โดยจ้าพ่อ Facebook ประกาศรีแบรนด์ทิ้งท้ายงานใหญ่ประจำปี Connect 2021 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ‘Meta’ ในภาษากรีกคำว่า เมต้า ที่หมายถึง “เหนือกว่า” ปรับแพลตฟอร์มเต็มรูปแบบเพื่อเข้าสู่โลกของ Metaverse
ต้องการให้เป็นมากกว่าโซเชียลมีเดีย
โดยการรีแบรนด์ครั้งนี้ ถือเป็นการบ่งบอกให้โลกรู้ชัดเจนว่า บริษัทไม่ได้เป็นเพียงโซเชียลมีเดียเท่านั้น แต่บริษัทเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี ก่อนหน้านี้ Facebook มีพนักงานมากกว่า 10,000 คนที่สร้าง Hardware สำหรับผู้บริโภค อย่างเช่น แว่นตา AR ซึ่งซักเคอร์เบิร์กเชื่อว่าสักวันจะต้องแพร่หลายเหมือนกับสมาร์โฟน และจากการให้สัมภาษณ์กับ The Verge ได้กล่าวว่า “เราจะเปลี่ยนจากคนที่มองว่าเราเป็นบริษัทโซเชียลมีเดียเป็นหลัก ให้มองว่าเราเป็นบริษัท Metaverse แทน”
Metaverse จะกลายเป็นแนวคิดใหม่แห่งอนาคต
ซักเคอร์เบิร์กนิยาม Metaverse ไว้ว่าเหมือนเป็นโลกเสมือนจริงที่เราสามารถเข้าไปทำกิจกรรมหลากหลายผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น VR AR ทำให้ Metaverse คือจักรวาลใหม่ที่ไม่ได้เน้นเพียงแค่โซเชียลมีเดียเท่านั้น ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ใช้ในการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่น Creator หรือ Developer เป็นต้น
โดยเราจะสามารถทำสิ่งต่าง ๆ บนโลก Metaverse ได้หลากหลายมาก ตั้งแต่เล่นเกม VR/AR สร้างห้องประชุม ห้องเรียนออนไลน์เสมือนจริง ดูหนัง ฟังเพลง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่เปิดประสบการณ์ให้มากกว่าเดิมแน่นอน
ความหมายในโลโก้ใหม่ที่มากขึ้น
บางคนอาจจะงง ว่าชื่อและโลโก้ใหม่นี้มีความหมายอะไร วันนี้แอดมินมีคำตอบให้ครับ
เมต้า นั้นไม่ใช่คำใหม่ โดย Mark Zuckerberg กล่าวในการไลฟ์เปิดตัวการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ ว่าชื่อใหม่นี้ ‘เมต้า’ สำหรับเขาหมายถึง ‘Beyond’ หรือ ‘เหนือกว่า ไปไกลกว่า’ ดังนั้นเขาจึงเลือกคำนี้เพราะมันสามารถสื่อถึงสิ่งที่บริษัทจะทำต่อไปในอนาคตได้อย่างครอบคลุม
อีกทั้ง เมต้า จะเป็นคำที่สื่อว่าบริษัทยังคงมีอะไรอีกมากให้สร้างสรรค์ และนับจากนี้ไปสิ่งที่ผลิตจากบริษัทนี้ จะอยู่เหนือข้อจำกัดของหน้าจอ ฉีกข้อจำกัดด้านระยะทาง และก้าวข้ามผ่านฟิสิกส์ทั้งมวล กลายเป็นอนาคตในโลกใหม่ที่ทุกคนสามารถอยู่รวมกันได้ เกิดเป็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ไม่รู้จบ
ทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามานี้ ทำให้โลโก้ เมต้า จึงออกแบบเป็นรูป Infinity ที่หมายถึงไม่มีที่สิ้นสุดนี้เอง
แต่ Facebook รีแบรนด์ก่อนวัยอันควรหรือเปล่า ?
Denise Lee Yohn ผู้เชี่ยวชาญจาก Harvard Business Review ที่มองว่า มาร์ก ประกาศรีแบรนด์และเข้าสู่ Metaverse ก่อนเวลาที่ควรจะเป็น ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด feedback มากมายเกี่ยวกับการรีแบรนด์ครั้งนี้เพราะ “ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจเกี่ยวกับ Metaverse และกล้าลอง”
“ถึงแม้ว่า vision ใหม่ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก จะทำให้เราเห็นว่าโลกกำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างกระโดด แต่มันไม่ใช่สำหรับทุกคน ความน่ากังวลก็คือ ผู้บริโภคอาจจะรู้สึกไม่สบายใจและไม่เชื่อมั่น และถ้าเป็นแบบนั้นแบรนด์ต่างๆ ก็อาจจะหยุดการพึ่งพิงทางธุรกิจจาก Facebook ชั่วคราว”
“การรีแบรนด์เป็นเพียงวิสัยทัศน์ใหม่ แต่กลับไม่มีรายละเอียดสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่ยังเป็นปัญหาค้างคาของ Facebook จึงมองว่า การตัดสินใจรีแบรนด์ของ Facebook เป็นการเคลื่อนไหวที่ผิดเวลา”
ทั้งยังมองว่า แพลนการพัฒนาเกี่ยวกับ Metaverse ของเมต้า อาจต้องใช้เวลาหลายปี หรือนานถึง 10 ปีที่จะเห็นมูฟเมนต์ชัดเจน ดังนั้น สิ่งที่น่าห่วงคือ ช่วงระยะสั้น ๆ จะเกิดอะไรขึ้นกับ เมต้า และผู้บริโภค แน่นอนว่าแบรนด์ต่างๆ อาจพิจารณาแพลตฟอร์มนี้อีกครั้ง
โดยสรุปคะแนนความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์มภายใต้ เมต้า มีคะแนนลดลงเรื่อยๆ จากแรกๆ อยู่ที่ 16% ลงมาที่ 11% ในช่วงการแพร่ระบาด + ประกาศรีแบรนด์องค์กร จนปัจจุบัน (ณ วันที่ 29 ต.ค. ถึง 4 พ.ย.) คะแนนความเชื่อมั่นแบรนด์อยู่ที่ 6.2%
Reference: ภาพจาก Harris Brand Platform
เปลี่ยนชื่อแล้วจะรุ่งหรือจะร่วง
ขณะนี้ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก และ Facebook กำลังเผชิญกับการตรวจสอบอย่างเข้มข้นอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน เกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ และคำพูดที่แสดงความเกลียดชัง ที่จะเป็นอันตรายต่อเด็กและวัยรุ่น
อย่างไรก็ตาม Facebook ไม่ใช่ธุรกิจแรกที่เปลี่ยนชื่อหรือรีแบรนด์ในช่วงวิกฤต เรามีตัวอย่างบางธุรกิจมาให้ดู ลองมาวิเคราะห์กันว่ามีธุรกิจยักษ์ใหญ่อะไรบ้างที่ใช้กลยุทธ์นี้ และจะประสบความสำเร็จหรือไม่
Google เปลี่ยนชื่อเป็น Alphabet
ในปี 2015 ได้มีการก่อตั้งบริษัทแม่อย่าง Alphabet โดย Google
เหตุผลของ Google ก็คือช่วยเน้นย้ำถึงการดำเนินธุรกิจที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ Search Engine แต่ยังมีระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI.) ด้วย แต่ในขณะนั้น Google ยังอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนจากหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาล รวมถึงการตรวจสอบจากหน่วยงานต่อต้านการผูกขาด ที่กังวลว่าธุรกิจของบริษัทจะยับยั้งการแข่งขันในตลาด
Dunkin’ โยนโดนัททิ้ง
ในปี 2018 Dunkin’ Donuts ได้ประกาศการเดินหมากในลักษณะเดียวกัน โดยยกเลิกคำว่า ‘Donuts’ ออกจากการสร้างแบรนด์ เป้าหมายคือการเน้นเมนูเครื่องดื่มและอาหารคาวเพิ่มมากขึ้นด้วย
ในขณะนั้นบริษัทกล่าวว่าลูกค้ามีปฏิกิริยาเชิงบวกต่อชื่อใหม่นี้ แต่เมื่อปีที่แล้วยอดขายลดลงจากการระบาดของโควิด ทำให้การสัญจรไปมาของผู้คนหายไป และในเดือนตุลาคม 2020 ธุรกิจ Dunkin’ และแบรนด์น้องสาวอย่าง Baskin-Robbins ก็ถูกซื้อกิจการโดยบริษัท Inspire Brands
KFC ตัดคำว่า ทอด ทิ้ง
Kentucky Fried Chicken ย่อชื่อให้สั้นลงเป็น KFC ตั้งแต่ปี 1991 แล้ว ในทำนองเดียวกัน มันไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก ด้วยผู้คนเรียกแบรนด์นี้ว่า ‘KFC’ กันมาหลายปีแล้ว
โดยผู้บริหารของ KFC บอกว่า พวกเขาต้องการปลูกฝังภาพลักษณ์ที่ดูเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และร่วมสมัยมากขึ้น
สรุปว่า
ไม่ว่าจะธุรกิจนี้จะรีแบรนด์ไปในทิศทางใด และต้องการจะสื่อสารให้กับสังคมทุกวันนี้รับรู้ในเรื่องอะไรก็ตาม แต่การที่โลกหมุนเปลี่ยนไปนั้นย่อมมีผลทำให้มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นใหม่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตลาดที่ต้องอัปเดตกันให้มากขึ้นแล้วว่า Marketer ในอนาคตต้องมีทักษะการเรียนรู้อะไรที่ควรจะต้องทราบเพิ่มมากขึ้นจากแค่ความรู้ในห้องเรียน เพราะเนื่องจากตำราทุกตำราไม่ได้ถูกอัปเดตเสมอ เช่นเดียวกัน ผู้สอนก็ควรต้องหาวิธีต่าง ๆ ใส่ความรู้ให้อนาคตที่จะไปพัฒนาสังคมให้เก่งยิ่งขึ้นด้วย
ในมุมมองของธุรกิจ การหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านไปเช่นนี้อาจทำให้เราต้องคิดหาวิธีการสื่อสารใหม่ ๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าปัจจุบันด้วยเช่นกัน เพราะเนื่องจากหากเรายืนหยุดนิ่งกับที่ แน่นอนว่าธุรกิจที่เขาไหวตัวทันและพร้อมพริ้วไหวไปกับกระแสสังคมย่อมโดนพัดให้ไปไกลกว่าแน่นอน
ผู้ประกอบการท่านใด ต้องการเดินบนเส้นทางธุรกิจออนไลน์ ปรึกษา Exvention ได้เลยครับนอกจากนี้เรายัง รับทำเว็บไซต์ อีกด้วยท่านใดสนใจติดต่อเราได้เลยครับ
บทความอ้างอิง
ทำไมต้องชื่อ Meta? มาดูความหมายชื่อและโลโก้ใหม่ของ Facebook
Facebook name change: what is Meta, meaning of new name and Metaverse concept
Facebook รีแบรนด์เป็น Meta มุ่งสร้างโลก Metaverse (brandinside.asia)
รีแบรนด์เป็นเหตุสังเกตได้ เพราะอะไรความเชื่อมั่นแบรนด์เกี่ยวกับ Meta กลับลดลง (marketingoops.com)
Facebook เตรียมรีแบรนด์ ตั้งชื่อบริษัทใหม่ – โพสต์ทูเดย์ รอบโลก (posttoday.com)
Facebook ประกาศรีแบรนด์ เปลี่ยนชื่อเป็น Meta เปิดจักรวาลใหม่แห่งโลกอนาคต Metaverse – JEAB.com