ในยุคดิจิทัลที่ผู้คนรับสารผ่านทางสายตาเป็นหลัก โมชั่นกราฟิก กลายเป็นเครื่องมือทรงพลังสำหรับการสื่อสารในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น วิดีโออธิบาย (Explainer Video), โฆษณา (Advertising Video), หรือแม้กระทั่งภาพยนตร์การ์ตูน
โมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) คืออะไร?
โมชั่นกราฟิก (Motion Graphics) คือ เทคนิคการออกแบบกราฟิกผสมผสานกับการเคลื่อนไหวและเสียงประกอบ เพื่อสื่อสารข้อมูล ข้อความ หรือนำเสนอเรื่องราวให้เข้าใจง่าย สามารถดึงดูดผู้ชมได้มากกว่าการนำเสนอแบบภาพนิ่ง เน้นการใช้องค์ประกอบการออกแบบกราฟิก
เช่น รูปร่าง ไอคอน รูปภาพประกอบ ตัวอักษร และนำมาจัดเรียงให้อยู่ในรูปแบบการเคลื่อนไหว แตกต่างจากแอนิเมชั่นแบบดั้งเดิม โมชั่นกราฟิกจะไม่เน้นการสร้างตัวละครที่ซับซ้อนหรือการเล่าเรื่องเชิงลึก แต่จะใช้การเคลื่อนไหว สี และลำดับชั้นของภาพเพื่อสื่อสารข้อมูลในรูปแบบที่กระฉับกระเฉง
โมชั่นกราฟิกมีหลากหลายรูปแบบและสามารถผลิตสื่อมัลติมีเดียออกมาใช้ได้หลายโอกาส เช่น วิดีโออธิบายสินค้า โฆษณาบนโซเชียลมีเดีย เครดิตไตเติ้ลภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์
ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมและความเข้าใจหลักการออกแบบ โมชั่นกราฟิกสามารถเปลี่ยนข้อมูลเรียบง่ายของแบรนด์ให้กลายเป็นภาพที่น่าสนใจ สื่อสารข้อมูลและสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมได้
Motion Graphic มีกระบวนการผลิตทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่
1. ขั้นตอนก่อนการผลิต (Pre-Production)
2. ขั้นตอนการผลิต (Production)
3. ขั้นตอนหลังการผลิต (Post-Production)
4. ตรวจสอบและแก้ไข (Revision)
5. ส่งมอบผลงาน (Delivery)
ขั้นตอนก่อนการผลิต (Pre-Production)
กำหนดกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Target & Objective)
ชัดเจนว่าต้องการสื่อสารอะไรกับใคร เพื่อกำหนดทิศทางการนำเสนอ
กำหนดกรอบแนวคิด (Direction Concept)
เป็นขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล เพื่อการคิดวิเคราะห์คอนเซปต์ของงาน
อารมณ์ของงาน (Mood Board)
เป็นการกำหนดโทนสี ฟอนต์ ตัวละคร สไตล์ภาพให้สอดคล้องกับแบรนด์หรือคอนเซ็ปต์ ซึ่งขั้นตอนนี้ Motion Graphic Designer จะออกแบบควบคู่กับ Creative
บทพูด (Script)
เป็นการนำแนวคิดของหรือคอนเซปต์มาเขียนเป็นบทพูด โดยหัวใจสำคัญจะต้องวางโครงสร้างเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การเกริ่นนำ ใจความหลัก และสรุป ด้วยความยาวที่เหมาะสม ไม่เกิน 15 นาทีตามสคริปต์
4.1 Introduction คือส่วนเริ่มแรกที่ต้องเล่าเรื่องให้น่าสนใจ และน่าติดตามมากที่สุดเพื่อเชื่อมโยงต่อไปที่ Main Idea
4.2 Main Idea คือใจความหลักของเนื้อเรื่อง ใช้ในการขายประโยชน์ของ Product
4.3 Ending คือการสรุปเรื่องราวทั้งหมดผ่าน Keyword สั้น ๆ เพื่อที่จะบอกอะไรกับคนดู หรือให้คนดูรู้สึกอะไร
บทภาพ (Storyboard)
การเขียนสตอรี่บอร์ดเป็นการกำหนดรายละเอียดและนำมาสร้างไอเดียหลักในการเล่าเรื่องผ่านภาพร่าง คำบรรยาย และกำหนดทิศทางของภาพเคลื่อนไหว โดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ
5.1 Storyboard คือการสเก็ตภาพง่าย ๆ คู่กับสคริปต์เพื่อเล่าเรื่องราวให้เห็นภาพมากขึ้น โดยการเขียนจะเล่าประมาณว่า ภาพนี้สื่ออะไร มีการเคลื่อนไหวแบบไหน เพื่อง่ายต่อการแก้ไขในอนาคต
5.2 Storyboard AI เมื่อสเก็ตภาพ Storyboard แล้ว ก็ต้องนำแต่ละฉากไปขึ้นใน Adobe illustrator เพื่อทำเป็นฉากพร้อม Animate แล้วนำมาเรียงเป็น Storyboard ตาม Mood board ที่ลูกค้าเลือก
เลือกซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์
เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับความซับซ้อนของงาน เช่น Adobe Illustrator (AI), Adobe After Effects (AE), Adobe Photoshop (PS)
ขั้นตอนการผลิต (Production)
สร้างภาพกราฟิก (Graphic Creation)
สร้างภาพนิ่ง (Artwork) แอนิเมชั่น ตัวละคร ตามที่ออกแบบไว้ด้วยการจัดและองค์ประกอบของงานภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบของ Visual Content ซึ่งผู้ผลิตสามารถออกแบบได้จากโปรแกรม เช่น Adobe Illustrator หรือ Adobe Photoshop โดยต้องคำนึงถึงขนาดเฟรม และอัตราส่วนภาพ
1.1 ขนาดเฟรม (Frame Size) การเตรียมอาร์ตเวิร์คสำหรับงานภาพเคลื่อนไหว จะต้องเข้าใจเรื่องขนาดเฟรม และเลือกใช้ให้เหมาะสม
1.2 อัตราส่วนภาพ (Aspect Ratio) เป็นอัตราส่วนความกว้างและความสูงของภาพ เช่น 1:1, 3:2, 4:3 และ 16:9 เป็นต้น โดยการเลือกใช้อัตราส่วนขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ต้องการนำเสนอ
ทำแอนิเมชั่น (Animation)
เป็นการนำอาร์ตเวิร์คมาเคลื่อนไหวตามสตอรี่บอร์ดด้วยโปรแกรม Adobe After Effects
ขั้นตอนหลังการผลิต (Post-Production)
1. การลำดับภาพ (Sequencing)
เป็นการนำฉากแต่ละฉากที่สร้างขึ้นมาทำการเรียงลำดับภาพให้เป็นเรื่องราว
2. การผสมเสียง (Mix Sound)
คือขั้นตอนหลังจาก Animate เสร็จแล้ว นั้นก็คือการอัดเสียงที่ใช้บรรยาย Motion Graphics โดยการอัดเสียงต้องทำที่ห้องอัดเพื่อทำให้ได้เสียงออกมามีคุณภาพมากที่สุด
3. การตัดต่อ (Video Editing)
เป็นขั้นตอนประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน ปรับแต่งจังหวะและความยาว พร้อมใส่ลูกเล่น เทคนิคพิเศษให้ภาพดูน่าสนใจ รวมไปถึงปรับโทนสีและแสงให้สวยงาม สื่ออารมณ์ตามต้องการ
ตรวจสอบและแก้ไข (Revision)
เป็นกระบวนการทำงานของทีมงานผู้ผลิตและลูกค้าร่วมกันตรวจสอบแก้ไขจุดบกพร่องของชิ้นงาน เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันครั้งสุดท้ายก่อนปรับเปลี่ยนตามความต้องการหรือความพึงพอใจ
ส่งมอบผลงาน (Delivery)
ส่งมอบชิ้นงานตามรูปแบบที่ตกลงกันอาจรวมถึงไฟล์ต้นฉบับเพื่อการใช้งานต่อตามตกลง
รูปแบบการสร้างโมชั่นกราฟิกมีอะไรบ้าง?
รูปแบบ 2D Animation
เป็นเทคนิคพื้นฐานการใช้ภาพสองมิติมาทำให้เกิดการเคลื่อนไหว เหมาะสมกับงานที่ต้องการความเรียบง่าย โดยเดิมทีเป็นรูปแบบเดียวกันกับแอนิเมชั่นที่ถูกสร้างขึ้นมานานมากแล้ว ซึ่ง 2D Animation จะถูกวาดบนแนวตั้งและแนวนอน รวมกันเป็นภาพ 2 มิติ
ตัวอย่าง 2D Animation ที่สามารถหยิบยกขึ้นมาให้เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันมากที่สุด ได้แก่ Animation จากประเทศญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่เช่น Your Name หรืออาจจะคุ้นเคยกับแอนิเมชั่นเก่าๆจาก Disney อย่าง lion king หรือ tarzan โดยรูปแบบการสร้างนั้นจะมีบริบทที่คล้ายคลึงกัน
รูปแบบ 3D Animation
เป็นการสร้างโมเดลสามมิติให้เคลื่อนไหว ดูสมจริง เหมาะกับงานที่ต้องการความซับซ้อนของโมชั่นกราฟิกที่จะแสดงให้เห็นถึงมิติ ความนุ่มลึกของชิ้นงาน ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างที่มักทำขึ้นในโปรแกรมเฉพาะ ไม่ต่างจากการ์ตูนในปัจจุบัน
รูปแบบ Stop Motion
เป็นเทคนิคการสร้างโมชั่นกราฟิกด้วยการจัดวางวัตถุจริงมาขยับทีละนิดแล้วถ่ายภาพต่อเนื่องไว้ทีละเฟรม เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวสะดุดตา ซึ่งผู้ทำต้องการสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือโปรแกรม
รูปแบบ Kinetic Typography
เทคนิครูปแบบหนึ่งของงานโมชั่นกราฟิกในการใช้ตัวอักษรเคลื่อนไหวแทนการบรรยาย อาจใช้เพื่อการนำเสนองาน (Presentation) หรือทำ Lyrics Video
รูปแบบ Icon Animation
Icon Animation จะเน้นไปที่การทำให้ Icon และสัญลักษณ์ที่ดูแข็งทื่อให้มีชีวิตชีวาขึ้นมา ผ่านโมชั่นกราฟิก (Motion Graphics) ด้วยเทคนิคการเพิ่ม Movement ใส่ Transformation และ Effect เล็กน้อย ให้เข้ากับ Personality ของตัวเองและทำให้งานโฆษณาดูน่าสนใจ
เคล็ดลับการสร้างโมชั่นกราฟิกที่ดึงดูดผู้ชม!
การสร้างโมชั่นกราฟิกให้น่าสนใจและดึงดูดผู้ชมนั้น จะต้องอาศัยเทคนิคและองค์ประกอบต่างๆ มาผสมผสานกัน ต่อไปนี้คือเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณสร้างสรรค์ผลงานชิ้นเอกให้ดึงดูดกลุ่มลูกค้า
เนื้อหาชัดเจน เข้าใจง่าย (Clear and Concise Content)
1. สื่อสารสาระสำคัญได้รวดเร็ว (Communicate key points quickly)
ช่วยให้เข้าใจข้อมูลซับซ้อนที่ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจเห็นภาพได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
2. ไม่ยืดเยื้อ (Avoid unnecessary details)
เนื้อหาถูกบรรยายผ่านภาพเคลื่อนไหวไม่ยืดเยื้อ สามารถช่วยในการสื่อสารข้อมูลสำคัญที่ต้องการความชัดเจน ให้กระชับขึ้น
3. ใช้ภาษาที่ง่าย เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย (Use simple language that resonates with target audience)
ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาได้โดยไม่ต้องตีความหรือเดา การใช้ภาษาที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ช่วยให้รู้สึกคุ้นเคย เข้าถึงง่าย และสร้างความรู้สึกเชื่อมโยง สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพสวยงาม น่ามอง (Visually Appealing)
1. ดีไซน์กราฟิก สีสัน ดึงดูดสายตา (Eye-catching graphic design and color palette)
สร้างโมชั่นกราฟิกที่มีสีสันสดใส โดดเด่น ไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกรกตา โดยเลือกโทนสีที่สอดคล้องกับแบรนด์หรือธีมของเนื้อหา
2. ตัวละครมีเอกลักษณ์ น่าจดจำ (Unique and memorable characters)
ออกแบบตัวละครให้มีบุคลิก ท่าทาง ที่สามารถสื่อสารอารมณ์ได้ ใช้สไตล์การวาดที่เข้ากับโทนของโมชั่นกราฟิก (Choose a drawing style that complements the overall tone)
3. จังหวะการเคลื่อนไหวของโมชั่นกราฟิกที่เร้าใจ (Engaging Pace)
ใช้การเคลื่อนไหวสลับฉากหรือการตัดต่อที่ฉับไว โดยปรับเปลี่ยนความเร็วสร้างความตื่นเต้นให้ชื้นงานตามความเหมาะสมของเนื้อหา และหลีกเลี่ยงภาพนิ่งนานเกินไป
4. เสียงประกอบสมจริง (Compelling Sound Design)
เสียงดนตรี เสียงเอฟเฟคต์ เสริมอารมณ์ (Music and sound effects enhance emotions)
เสียงดนตรี และเสียงเอฟเฟคต์ ที่เพิ่มเข้ามาในชิ้นงานจะช่วยในการส่งเสริมอารมณ์ของผู้ชมให้สามารถดูจนจบได้ ดังนั้นควรเลือกเสียงประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อหา และใช้ดนตรีประกอบเพื่อสร้างบรรยากาศ
เสียงบรรยายชัดเจน ฟังง่าย (Clear and easy-to-understand narration) ควรเลือกน้ำเสียงที่สุภาพ น่าฟัง ควบคุมระดับเสียงให้สมดุลกับเสียงประกอบอื่นๆ
5. คอลทูแอคชั่นชวนติดตาม (Clear Call to Action)
คอลทูแอคชั่นเป็นการกระตุ้นให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับชิ้นงานด้วยการใส่ข้อความเชิญชวน อาจเป็นการกดไลค์ กดติดตาม หรือคลิกเข้าชมเว็บไซต์
เคล็ดลับเพิ่มเติม (Additional Tips)
- เล่าเรื่องราวที่น่าสนใจ (Tell a compelling story) : โมชั่นกราฟิกที่ดีไม่เพียงแค่สวยงาม แต่ยังต้องดึงดูดผู้ชมด้วยเนื้อหาที่ชวนติดตาม
- ศึกษาเทรนด์ใหม่ๆ อยู่เสมอ (Stay updated with the latest trends) : โลกของโมชั่นกราฟิกมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การติดตามเทรนด์ใหม่ๆ จะช่วยให้ผลงานของคุณดูทันสมัยและเข้าถึงผู้คนได้เสมอ
สรุป
โมชั่นกราฟิก คือ เทคนิคการออกแบบกราฟิกผสมผสานกับการเคลื่อนไหวและเสียงประกอบ เพื่อสื่อสารข้อมูล ข้อความ หรือนำเสนอเรื่องราวให้เข้าใจง่าย ชวนติดตาม และสามารถดึงดูดผู้ชมได้มากกว่าการนำเสนอแบบภาพนิ่ง โดยประกอบไปด้วยกระบวนการสร้างทั้งหมด 5 ขั้นตอน
การสร้างโมชั่นกราฟิกที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยการวางแผน ออกแบบ และการผลิตอย่างพิถีพิถัน โดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา และรูปแบบการนำเสนอ
บริษัท EXVENTION พร้อมให้คำปรึกษา และจัดทำหากผู้ประกอบการท่านใดมีความสนใจในการสร้างชิ้นงาน Motion Graphics อีกทั้งยังมีบริการสร้างเว็บไซต์ พัฒนาซอฟต์แวร์ และดูแลเรื่องความปลอดภัยอย่างมืออาชีพ หากผู้ประกอบการท่านใดมีความสนใจในการสร้างเว็บไซต์ Web Application สามารติดต่อสอบถามได้เลยครับ
Reference :
Motion graphic คืออะไร ภาพกราฟิกที่ให้อารมณ์ความรู้สึกไปอีกขั้น
เทคนิคการทำ Motion Graphics แบบคุณภาพสำหรับงานโฆษณา
2D Animation และ 3D Animation ต่างกันอย่างไร
Kinetic Typography คืออะไร? เป็น Motion Graphic หรือเปล่า?
Motion Graphics คืออะไร แชร์วิธีทำ Motion Graphics ให้น่าสนใจ!
One Response
I’m not that much of a internet reader to be honest but your blogs really nice, keep it
up! I’ll go ahead and bookmark your website to
come back down the road. Many thanks