Motion Graphics

Motion Graphics กับ Animation แตกต่างกันยังไง?

รู้ไหมว่าโมชั่นกราฟิก (Motion Graphics) กับ แอนิเมชั่น (Animation) ต่างกันอย่างไร? ทั้ง 2 รูปแบบมีการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวที่ดึงดูดความสนใจ และสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งสองมีจุดประสงค์ กระบวนการผลิต และผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน

 

 

โมชั่นกราฟิก (Motion Graphics) คืออะไร?

 

โมชั่นกราฟิก คือ กราฟิกเคลื่อนไหวที่ผสมผสานภาพ เสียง ข้อความ และเทคนิคแอนิเมชั่นเข้าด้วยกัน สร้างเป็นสื่อที่ดึงดูดความสนใจ และสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันผู้ประกอบการจำนวนมากเล็งเห็นถึงบทบาทของโมชั่นกราฟิกที่จะเข้ามามีส่วนร่วมต่อธุรกิจในหลายแง่มุม 

เพราะนอกจากจะช่วยในการดึงดูดความสนใจในตัวคอนเทนต์ กระตุ้นอารมณ์ ยังสามารถแปลเปลี่ยนเป็นตัวแปรในการกระตุ้นยอดขายได้อีกด้วย การใช้โมชั่นกราฟิกอย่างชาญฉลาดจะช่วยให้ธุรกิจพบกับอีกหนึ่งหนทางสู่ความสำเร็จ เช่น การทำโฆษณาสินค้าและบริการ, อธิบายการทำงานของผลิตภัณฑ์

โมชั่นกราฟิกเกิดมาจากการผสมคำ 2 คำคือ โมชั่น (Motion) ที่หมายถึง การเคลื่อนไหว และคำว่า กราฟิก (Graphic) หมายถึง ภาพ เมื่อสองคำนี้มารวมกันเป็นคำว่า โมชั่นกราฟิก จะแปลแบบง่ายๆว่า ภาพกราฟิกแบบเคลื่อนไหว โดยมุ่งเน้นไปที่การสื่อสารข้อมูลอย่างรวดเร็ว กระชับ เข้าใจง่าย

 

Motion

 

แอนิเมชั่น (Animation) คืออะไร?

 

แอนิเมชั่น (Animation) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการนำภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพมาเรียงต่อกันด้วยความเร็วสูง ทำให้เกิดภาพลวงตาของการเคลื่อนไหวออกมา โดยเป็นการเคลื่อนไหวของภาพที่มี่ตัวการ์ตูนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญ 

มุ่งเน้นไปที่การขยับภาพ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่สมจริงมากกว่าโมชั่นกราฟิก ทำให้แอนิเมชั่นสามารถสร้างความมีชีวิตชีวา เป็นกันเองและความสนุกสนานให้กับชิ้นงานได้มากขึ้น 

แอนิเมชั่นทำให้นักเล่าเรื่องสามารถบอกเล่าเรื่องราวด้วยวิธีที่ไม่เหมือนใคร โลกมหัศจรรย์ภายในภาพยนตร์แอนิเมชั่นสามารถจุดประกายแรงบันดาลใจ และความมหัศจรรย์ของเรื่องราวได้ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม

 

 

โมชั่นกราฟิก (Motion Graphics) กับ แอนิเมชั่น (Animation) ความเหมือน และความต่าง

 

โมชั่นกราฟิก (Motion Graphics) และแอนิเมชั่น (Animation) ล้วนเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลและสร้างประสบการณ์การรับชมที่ดี แต่ทั้งสองมีจุดประสงค์ กระบวนการผลิต และผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน การเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย เนื้อหา และกลุ่มเป้าหมาย

 

ความเหมือนของ Motion Graphic กับ Animation

Motion Graphic และ Animation มีความเหมือนกันหลายประการ ทั้งในแง่ของกระบวนการผลิต หลักการ เครื่องมือ รูปแบบ และผลลัพธ์

กระบวนการผลิต : ทั้งสองใช้กระบวนการผลิตที่คล้ายกัน เริ่มต้นจากการออกแบบภาพ สร้างภาพเคลื่อนไหว จัดแสง ปรับสี ใส่เสียงประกอบ ไปจนถึงการตัดต่อ

หลักการ : ทั้งสองใช้หลักการออกแบบ การจัดองค์ประกอบ และหลักการสร้างการเคลื่อนไหวที่เหมือนกัน

ภาพเคลื่อนไหว : ทั้งโมชั่นกราฟิก และแอนิเมชั่นใช้เทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเพื่อดึงดูดความสนใจและสร้างประสบการณ์การรับชมที่แตกต่างจากการอ่านข้อความ

องค์ประกอบการออกแบบ : ทั้งสองใช้องค์ประกอบการออกแบบกราฟิก เช่น รูปร่าง ไอคอน รูปภาพประกอบ ตัวอักษร สี และแสง เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่สวยงามและสื่อความหมายเหมือนกัน

เครื่องมือ : โมชั่นกราฟิกและแอนิเมชั่นใช้ซอฟต์แวร์และเครื่องมือที่คล้ายคลึงกันในการสร้างภาพเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการสร้างแบบ 2D, 3D Animation

รูปแบบ : ทั้งสองสามารถนำเสนอในรูปแบบวิดีโอ GIF หรือภาพเคลื่อนไหวบนเว็บ

ผลลัพธ์ : ทั้งสองสามารถสร้างผลงานที่น่าสนใจ ดึงดูดความสนใจ และสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Animation

 

ความแตกต่างของ Motion Graphic กับ Animation

Motion Graphic และ Animation เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการสื่อสาร ดึงดูดความสนใจ และสร้างสรรค์ผลงานที่น่าทึ่ง การเลือกใช้ Motion Graphic หรือ Animation ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ความซับซ้อน และระยะเวลาของผลงาน

 

เป้าหมาย

– โมชั่นกราฟิก (Motion Graphic)

โมชั่นกราฟิก มุ่งเน้นไปที่การสื่อสารข้อมูล แนวคิด หรือความคิดอย่างรวดเร็ว กระชับ เข้าใจง่าย มักใช้ในสื่อโฆษณา วิดีโออธิบายสินค้า เครดิตไตเติ้ล ฯลฯ

– แอนิเมชั่น (Animation)

แอนิเมชั่น มุ่งเน้นไปที่การเล่าเรื่อง สร้างความบันเทิง ดึงดูดอารมณ์ ผลงานแอนิเมชั่นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพยนตร์การ์ตูน รายการโทรทัศน์ มิวสิควิดีโอ ฯลฯ

 

ตัวละคร

– โมชั่นกราฟิก (Motion Graphic)

โมชั่นกราฟิก มักไม่ใช้ตัวละคร หรือใช้ตัวละครแบบเรียบง่าย เน้นการสื่อสารด้วยภาพกราฟิก

– แอนิเมชั่น (Animation)

แอนิเมชั่น เน้นการสร้างตัวละครที่มีเอกลักษณ์ บุคลิก และอารมณ์ เพื่อขับเคลื่อนเรื่องราว

 

ความซับซ้อน

– โมชั่นกราฟิก (Motion Graphic)

โมชั่นกราฟิก กระบวนการผลิตมักเรียบง่าย ใช้เวลาไม่นาน เน้นการออกแบบกราฟิกและการเคลื่อนไหวที่กระชับ

– แอนิเมชั่น (Animation)

แอนิเมชั่น กระบวนการผลิตมักซับซ้อน ใช้เวลานาน เน้นการออกแบบตัวละคร การเคลื่อนไหว ฉาก และเสียงประกอบ

 

ความยาว

– โมชั่นกราฟิก (Motion Graphic)

โมชั่นกราฟิก มักมีความยาวสั้น ประมาณ 1-5 นาที

– แอนิเมชั่น (Animation)

แอนิเมชั่น มีความยาวหลากหลาย ขึ้นอยู่กับรูปแบบและเนื้อหา

 

 

โมชั่นกราฟิกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแอนิเมชั่น แต่แอนิเมชั่นไม่ได้จำกัดอยู่แค่โมชั่นกราฟิก เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้การสร้างโมชั่นกราฟิกและแอนิเมชั่นง่ายขึ้นและเข้าถึงได้มากขึ้น ความคล้ายคลึงกันในหลายองค์ประกอบจึงทำให้คนจำนวนหนึ่งเข้าใจจุดประสงค์ของผลงานผิด 

การผสมผสานกันระหว่างโมชั่นกราฟิกและแอนิเมชั่นเข้าด้วยกันสามารถสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพ และน่าสนใจขึ้นมาได้

 

Motion Graphics Creation

 

สรุป

โมชั่นกราฟิก (Motion Graphics) เป็นกราฟิกดิจิทัลที่สร้างภาพลวงตาของการเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วมักใช้สำหรับโฆษณา ลำดับชื่อเรื่องในภาพยนตร์ ฯลฯ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็มีไว้เพื่อสื่อสารบางสิ่ง

มักจะใช้ร่วมกับเสียงสำหรับสื่อมัลติมีเดียประเภทหนึ่งที่ใช้ในธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ โดยมักจะมีข้อความเป็นตัวแสดงหลักต่างจากการทำแอนิเมชั่นในเรื่องของวัตถุประสงค์ในการใช้งาน  

* โมชั่นกราฟิกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแอนิเมชั่น แต่แอนิเมชั่นไม่ได้จำกัดอยู่แค่โมชั่นกราฟิก

* แอนิเมชั่นเป็นคำที่ใช้เรียกภาพเคลื่อนไหวทุกแขนง รวมถึงทุกอย่างตั้งแต่การ์ตูนไปจนถึงการปั้นดินเหนียวในรูปแบบ Stop Motion 

 

บริษัท EXVENTION พร้อมให้คำปรึกษา และจัดทำหากผู้ประกอบการท่านใดมีความสนใจในการสร้างชิ้นงาน Motion Graphics อีกทั้งยังมีบริการสร้างเว็บไซต์ พัฒนาซอฟต์แวร์ และดูแลเรื่องความปลอดภัยอย่างมืออาชีพ  หากผู้ประกอบการท่านใดมีความสนใจในการสร้างเว็บไซต์ Web Application สามารติดต่อสอบถามได้เลยครับ

 

Reference :

What is Animation — Definition, History and Types of Animation
Motion graphics vs. animation: what’s the difference?

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *