จิตวิทยาการออกแบบ

จิตวิทยาการออกแบบ UXUI รู้ไว้เพื่อให้เข้าใจผู้ใช้งานได้ดีขึ้น

จิตวิทยาการออกแบบ เป็นเรื่องที่ใครหลาย ๆ คนมักมองข้าม หากกำลังศึกษาเรื่อง UX/UI น่าจะเคยผ่านตาเรื่องของหลักจิตวิทยาการออกแบบที่นำมาใช้กับ UX/UI กันบ้างแล้ว โดยหลักการแล้วหลักจิตวิทยาจะช่วยให้ User ใช้งานเว็บหรือแอปฯ ที่เราออกแบบได้อย่างมีประสบการณ์ที่ดีได้ มาทำความเข้าใจกันว่าเรียนจิตวิทยาไปทำไม? ถ้าทำงาน ในการออกแบบ UX/UI

ออกแบบ UX/UI ให้ชีวิต User ง่ายขึ้น

การออกแบบ Interaction (ปฏิสัมพันธ์) ระหว่างมนุษย์กับ Digital Product (เว็บ, แอปฯ) ว่าจะออกแบบอย่างไรให้ User หรือคนที่เข้ามาใช้งานแล้วรู้เรื่อง เราทุกคนต่างเคยมีประสบการณ์กับการใช้งานบางแอปฯ ที่รู้สึกว่า”ใช้ง่าย” ในขณะที่บางแอปฯ รู้สึกว่า”ใช้ยาก” ภาพกว้าง ๆ มันเกี่ยวข้องกับเรื่องของ Usability Design

การจะเพิ่ม Usability Design หรือการออกแบบที่ใช้งานง่ายให้มากขึ้นนั้น ต้องคำนึงถึงการลดการเกิด cognitive load ภาระทางสมองการคิดเยอะ สิ่งที่เห็นแล้วทำให้ต้องตีความ ต้องคิดเยอะ หรือเห็นแล้วเกิดเป็นคำถามในใจว่ามันต้องใช้ยังไงนะ เมื่อสมองทำงานเยอะ ก็ทำให้ User เกิดประสบการณ์ที่ไม่ดี หรือเริ่มรู้สึกว่าสิ่งนี้ใช้งานยาก

การศึกษาเรื่องจิตวิทยาการออกแบบ เพื่อนำมาเป็นส่วนช่วยลดการคิดเยอะของ User เวลาใช้แอพ จะมองภาพเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. เข้าใจความคิดของมนุษย์ทั่วไป

2. เข้าใจความคิดของกลุ่มเป้าหมาย (Persona)

2.1 จะครอบคลุมมนุษย์ส่วนใหญ่ เช่น หลักการที่เกี่ยวข้องกับการที่คนตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมนุษย์มีพื้นฐานตรงนี้เหมือนกัน หากลอง Upload file เข้าระบบ สิ่งที่คนจะคาดหวังที่จะเห็นคือความชัดเจนว่าไฟล์มันโหลด เพราะนั่นคือสิ่งที่ทำให้เราในฐานะมนุษย์รู้สึกปลอดภัย หรือรู้สึก secure

ซึ่งเป็นความรู้สึกพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์อยู่รอดสืบเผ่าพันธุ์มา หรือการที่เราออกแบบโดยใช้ space (พื้นที่ว่าง) เข้ามาเสริมในหน้า UI อย่างพอดี มองปุ๊บสมองก็จะแยกแยะข้อมูลได้ไว จะรู้สึกว่ามันเป็นระเบียบ แยกข้อมูลได้ง่าย

ซึ่งตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนเชื้อชาติไหน เพศ วัย อาจคิดและรู้สึกไม่ต่างกันมาก ซึ่งตัวอย่างหลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้ก็ เช่น Heuristic Evaluation และ Gestalt Theory เป็นต้น

2.2 จะทำความเข้าใจกับคนเฉพาะกลุ่มมากขึ้น จากคำว่า “มนุษย์” มาเป็น User และ Persona แล้ว เพราะแอพฯ ที่ออกแบบมา เป็นไปได้ยากที่จะให้คนทั้งโลกใช้ได้ง่าย

ส่วนใหญ่วัยรุ่นไทยใช้ LINE กันทุกวัน รู้สึกว่ามันใช้ง่าย แต่หากให้วัยรุ่นมาจากยุโรปมาลองใช้แอป LINE เป็นครั้งแรกก็อาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคยและรู้สึกว่ามันใช้ยาก

ต้องเข้าใจประสบการณ์ที่ User ที่เป็น Persona เคยเจอมา แอปฯ ที่เขาเคยใช้มา ความชอบ-ไม่ชอบ ความคุ้นชินของเขาในมุมต่างๆ เพื่อนำมาเป็นส่วนตัดสินใจในการออกแบบ ตรงนี้ก็จะเกี่ยวกับหลัก Mental Models และก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไม นักออกแบบ UX ควรทำ Usability Test
จำเป็นต้องรู้หลักจิตวิทยา

อาจจะไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องจิตวิทยาขนาดนั้น แต่ในฐานะ UX/UI Designer ถ้าพอรู้ว่ามีหลักจิตวิทยาอะไรบ้างที่อยู่เบื้องหลังหลักการออกแบบที่ดี มันก็จะทำให้เราหลีกเลี่ยงการออกแบบที่ทำให้คิดเยอะได้เลยโดยอัตโนมัติ และออกแบบได้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพราะเข้าใจในความคิด
จิตวิทยาการออกแบบอยู่ในกระบวนการไหนของการออกแบบ UX/UI

ถ้าไล่ตามขั้นตอนของการทำ UX/UI ก็อาจจะเข้ามาตั้งแต่การทำ Research เลย ตั้งแต่ตอนที่ทำความเข้าใจ User เช่น มีความต้องการอะไร ที่ผ่านมาเวลาเจอปัญหาแบบนี้เขาแก้ปัญหาอย่างไร เป็นต้น

เรียกได้ว่าเป็นการศึกษา Mental Models หรือ เมื่อมีการออกแบบ User Flow แล้ว เช่น จากหน้าแอปฯ นี้จะกดไปหน้าไหนต่อ ก็ต้องมาคิดว่าขั้นตอนเหล่านี้ซับซ้อนเกินความจำเป็นไปหรือไม่ หรือมีความใกล้เคียงกับสิ่งที่คุ้นเคย

จนมาเป็นขั้นตอนของการทำ Wireframe และ Interaction กดปุ่มนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามี Error เกิดขึ้นจะแสดงผลอย่างไร กระบวนการเหล่านี้จะมีเรื่องจิตวิทยามารองรับทั้งหมด

ต้องคิดในทุกมุมว่าตั้งแต่เขาเข้ามาในแอปฯ ใช้งานจนออกจากแอปฯ ไปเขาจะเจออะไรบ้าง และเขาสามารถเข้าใจทุกจุดได้หรือยัง สามารถตรวจสอบได้โดยการทำ Usability Test

หลักการออกแบบเว็บไซต์โดยใช้จิตวิทยาการออกแบบ

1. The Paradox of Choice ยิ่งตัวเลือกเยอะ ยิ่งทำให้ตัดสินใจยากขึ้น

หลักการจิตวิทยา The Paradox of Choice ถูกคิดขึ้นโดย Barry Schwartz โดยทำการทดลองจากร้านขายแยม 2 ร้านเปรียบเทียบกัน ร้านแรกมีแยมรสชาติต่างๆ ให้ชิมถึง 24 แบบ กับอีกร้านที่มีแยมแค่ 6 แบบ ผลการทดลองพบว่า ร้านแรก มีลูกค้าหยุดและชิมถึง 60% แต่มีแค่ 3% เท่านั้นที่ตัดสินใจซื้อ แต่ร้านที่สองมีลูกค้าหยุดและชิมแค่ 40% แต่มีถึง 30% ที่ตัดสินใจซื้อ

เป็นเพราะสมองมี Cognitive load การรับข้อมูลเยอะเกินไป การใช้สมองประมวลผลข้อมูลนั้นต้องใช้พลังงานและค่อนข้างเยอะ ส่งผลให้ใช้เวลาตัดสินใจนานขึ้น ซึ่งสุดท้ายผู้คนก็ไม่สามารถตัดสินใจเลือกและซื้อของได้ในที่สุด สามารถนำหลักการ The Paradox of Choice มาประยุกต์กับการออกแบบเว็บไซต์ได้เช่นเดียวกัน สำหรับเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีสินค้าให้เลือกจำนวนมาก

การมีฟังก์ชัน Filter/Sorting หรือมีการแบ่งแสดงผลสินค้าออกเป็นหลายๆหน้า จะช่วยจำกัดการแสดงข้อมูลไม่ให้เยอะเกินไป หรือแม้กระทั่งการแสดงผลในรูปแบบ dropdown บนเว็บ ควรแสดงสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อลดเวลาในการเลือกและตัดสินใจของ User

2. Response Time Limits ระยะเวลาของการตอบสนองทำให้คนรู้สึกและตอบสนองกลับต่างกัน
Response time limits พูดถึงระยะเวลาการตอบสนองที่ทำให้คนรู้สึกต่างกัน โดยจะยกตัวอย่าง 3 ระยะเวลาแสดงผลหลัก ๆ ที่ถูกใช้กันบ่อยในการออกแบบเว็บไซต์

3. The Peak-end rule การจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงท้ายได้ดี

คนเรามักตัดสินประสบการณ์ส่วนใหญ่ โดยพิจารณาจากความรู้สึกในจุดที่พีคและจุดสิ้นสุด มากกว่าดูจากค่าเฉลี่ยโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นตอนจบในหนังแบบแฮปปี้มีความสุข หรือจุดจบแบบตรงกันข้าม ยิ่งถ้าเฉพาะเหตุการณ์ที่ไม่ดีด้วยแล้ว จะจดจำได้ดีเป็นพิเศษ จนบางทีอาจจะลืมเหตุการณ์ที่ดีๆ ในตอนต้นไปเลยด้วยซ้ำ 4. Von Restorff effect อะไรที่แตกต่าง มักจะจดจำได้ก่อน

หลักการจิตวิทยา Von Restorff Effect ถูกคิดขึ้นโดยจิตแพทย์ชาวเยอรมัน Hedwig von Restorff ได้ทำการทดลองและพบว่า ผู้ที่เข้าร่วมนั้นสามารถจดจำสิ่งของที่แตกต่างจากอันอื่นได้เป็นอย่างดี

หลักจิตวิทยานี้มักจะถูกนำไปออกแบบเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นปุ่ม แพ็กเกจ ที่เราอยากให้ User จดจำ หรือสังเกตุเห็นก่อนเป็นพิเศษ สามารถนำหลักการนี้มาออกแบบหน้า Pricing โดยการ Highlight Package ที่ต้องการให้ User เลือกให้มีสีที่แตกต่างจาก Package อื่นๆ เพื่อให้โดดเด่นและจำได้ก่อน

จิตวิทยาพื้นฐานมนุษย์หากคิดจะออกแบบ UX

1.มนุษย์รู้สึกกับสีแต่ละสีแตกต่างกัน ก่อนที่จะออกแบบเว็บไซต์ ควรจะรู้จักผู้เข้าเว็บไซต์ก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรออกแบบอย่างไรให้ถูกใจ
โดยสามารถแบ่งกลุ่มคนเข้าเว็บเป็นตามเพศ เพราะความรู้สึกต่อสีของเพศ เวลาออกแบบเว็บก็ดูว่ากลุ่มเป้าหมายของเว็บเลือกสีตามสีที่เขาชอบ

2. มนุษย์มี PERCEPTUAL SET ที่ต่างกัน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “Perceptual Set Theory” ที่อธิบายไว้ว่า สิ่งที่เข้าใจหรือความนึกคิดของเรามาจาก ความคาดหวัง ประสบการณ์และข้อมูลในอดีต คนแต่ละกลุ่มอาจจะมองสิ่งเดียวกันเป็นคนละอย่าง

สรุป

หากมีการเรียนรู้เรื่องจิตวิทยา จะทำให้ออกแบบชีวิต User ง่ายขึ้น เพราะ

1.เข้าใจความคิดของมนุษย์ทั่วไป

2. เข้าใจความคิดของกลุ่มเป้าหมาย (Persona) เราหลีกเลี่ยงการออกแบบที่ทำให้คิดเยอะได้เลยโดยอัตโนมัติ และออกแบบได้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น หลักการออกแบบเว็บไซต์โดยใช้จิตวิทยา

2.1 The Paradox of Choice ยิ่งตัวเลือกเยอะ ยิ่งทำให้ตัดสินใจยากขึ้น

2.2 Response Time Limits ระยะเวลาของการตอบสนองทำให้คนรู้สึกและตอบสนองกลับต่างกัน

3. The Peak-end rule การจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงท้ายได้ดี

4.Von Restorff effect อะไรที่แตกต่าง มักจะจดจำได้ก่อน

5.ความรู้สึกของมนุษย์กับสีต่าง ๆ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องจิตวิทยาที่ควรจะเรียนรู้หาก อยากทำงานออกแบบUX/UI

 

 

ผู้ประกอบการท่านใด ต้องการเดินบนเส้นทางธุรกิจออนไลน์ ปรึกษา Exvention ได้เลยครับ นอกจากนี้เรายัง รับทำเว็บไซต์ อีกด้วยท่านใดสนใจติดต่อเราได้เลยครับ

 

Reference :
หลักจิตวิทยากับการช่วยออกแบบ UX UI ให้ชีวิต User ง่ายขึ้น
5 จิตวิทยาพื้นฐานมนุษย์ที่คุณต้องรู้ ถ้าคิดจะออกแบบ UX
The Psychology of Web Design หลักการออกแบบเว็บไซต์โดยใช้จิตวิทยา