SEO เป็นคำที่ใครหลาย ๆ คนอาจได้ยินกันในปัจจุบัน หากใครทำการตลาดดิจิทัลในยุคนี้ก็ต้องรู้จักหรือเคยได้คำว่า SEO กันมาบ้าง จนอาจเกิดความสงสัยแล้วว่า search engine optimization แท้จริงคืออะไร มีวิธีการทำอย่างไร แล้วจะส่งผลดีอย่างไรกับเว็บไซต์และธุรกิจของเรา ฉะนั้นวันนี้ Exvention จึงจะขอพาทุกคนมาเจาะลึกและไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ search engine optimization กัน แต่ก่อนอื่นเรามารู้ความหมายที่แท้จริงของ search engine optimization กันก่อนดีกว่า
SEO คือ
SEO หรือ Search Engine Optimization คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ ปรับปรุงเนื้อหา และเพิ่ม Backlink ที่มีคุณภาพมายังเว็บไซต์ จุดประสงค์เพื่อโปรโมทเว็บไซต์หรือ โปรโมทแบรนด์ของเราให้ติดอยู่ในอันดับต้น ๆ บน Search Result Page (หน้าแสดงผลการค้นหา) เมื่อกรอก Keyword (คำที่ต้องการค้นหา) ผ่าน Search Engine (เครื่องมือค้นหา) ตัวอย่างเช่น Google, Yahoo!, Bing เป็นต้น
โดย search engine optimization ถือเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้ในระยะยาว โดยส่วนใหญ่การทำ search engine optimization จะเน้นทำบน Google เป็นหลักเพราะฉะนั้นการทำ search engine optimization ตามหลักของ Google จึงจะช่วยทำให้เว็บไซต์มีคุณภาพ ข้อมูลที่ตรงกับ คำค้นหาที่ใช้ค้นหา และยังส่งผลในการทำ search engine optimization ใน Search Engine อื่นๆ อีกด้วยนั่นเอง
Reference: ภาพจาก AUN Thai Laboratories
ในส่วนของกรอบสีแดง คือ ส่วนของ Organic Search หรือ Natural Search โดยในส่วนนี้จะเป็นข้อมูลหน้าเว็บไซต์ทั้งหมดที่ระบบของ Search Engine เช่น Google รวบรวมมาให้โดยใช้ระบบในการจัดอันดับ หรือที่เรียกว่า Algorithm (อัลกอริทึม) ซึ่งการให้คะแนนขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ที่แต่ละ Search Engine ได้กำหนด ซึ่งทางเจ้าของเว็บไซต์ไม่สามารถเลือกตำแหน่งเองได้
และสำหรับในส่วนข้อความที่อยู่เหนือกรอบสีแดง ที่มีคำว่า โฆษณา หรือ Ad คือส่วนของการลงโฆษณากับทาง Search Engine เองเรียกว่า PPC (Pay Per Click) โดย PPC เป็นการประมูล Keyword ที่ต้องการให้แสดงโฆษณา ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายหากมีคนคลิกเข้าไปชม
โดยวิธีนี้สามารถทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องปรับปรุงเว็บไซต์ ต่างจาก search engine optimization ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเมื่อมีคนคลิกเข้าไปชม แต่ก็ต้องแลกมากับการใช้เวลา และการพัฒนา
เว็บไซต์พร้อมสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีคุณภาพ เพื่อให้ Search Engine จัดอันดับให้หน้าเว็บไซต์เราไปอยู่ในอันดับที่ดีที่สุดนั่นเอง เราก็ได้รู้จักกับ search engine optimization คร่าว ๆ กันแล้ว ต่อมาเราก็มาดูในส่วนของการให้คะแนน หรือ Algorithm (อัลกอริทึม) กันต่อเลย
Search Engine Algorithm คือ
Search Result Page หรือ หน้าแสดงผลการค้นหา ที่เรียกว่า Algorithm (อัลกอริทึม) แต่ละ Search Engine จะมีระบบ Algorithm การให้คะแนนเว็บไซต์ที่แตกต่างกันไป เพื่อคัดกรองเว็บไซต์ที่ไม่มีคุณภาพออกและเพื่อให้ผลการค้นหาตรงตามที่ผู้ใช้งานต้องการมากที่สุด ฉะนั้นหากเราอยากให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับ เราก็จำเป็นที่จะต้องสร้างเว็บไซต์และสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพตาม Algorithm โดย Algorithm ที่ใช้ในการจัดอันดับเว็บไซต์ของ Google คือ Search Engine โดย Search Engine นั้นมี 2 ปัจจัยหลัก ๆ คือ
Reference: ภาพจาก AUN Thai Laboratories
- ปัจจัยภายใน (On-page / Micro) คือ ปัจจัยภายในที่ได้มาจากการปรับแต่งตัวโครงสร้างเว็บไซต์และเนื้อหาภายในเว็บไซต์ ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำ search engine optimization ให้ติดอันดับ ได้แก่
- Crawl Ability โครงสร้างของเว็บไซต์ที่เอื้อต่อการเก็บข้อมูลของ Search Engine
- Site Volume จำนวนหน้าภายในเว็บไซต์ (Index)
- Site Theme ลิงก์เชื่อมโยงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ (Internal Link)
- Text Match การเลือกใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Keyword รวมทั้งคุณภาพและปริมาณของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ Keyword ทั้งหมด
- ปัจจัยภายนอก (Off-page / Macro) คือ ปัจจัยจาก Backlink หรือลิงก์จากเว็บไซต์อื่น ๆ (External Link) โดยอาจจะเป็นลิงก์ที่ผู้อื่นสร้างให้เว็บไซต์ของเรา เช่น การอ้างอิงที่มาของข้อมูล หรืออาจจะเป็นลิงก์ที่เราสร้างขึ้นมาด้วยตัวเราเองก็ได้ เช่น การนำบทความไปลงในเว็บไซต์อื่น หรือการลงทะเบียนเว็บไซต์ในสารบัญเว็บไซต์ โดยปัจจัยภายนอกเหล่านี้ ก็สามารถแบ่งได้ ดังนี้
- Link Popularity ปริมาณ Backlink ที่เชื่อมโยงมายังเว็บไซต์ของเรา
- Site Theme คุณภาพของเนื้อหาและ Backlink ที่เชื่อมโยงมายังเว็บไซต์ของเรา
- User Experience ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานของผู้ใช้ (UX)
โดยยุคก่อนนั้น Backlink นับได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับผลการค้นหา Search Engine จึงส่งผลให้คนทำ search engine optimization พยายามที่จะหาและส่งลิงก์เข้าไปยังเว็บไซต์เป้าหมายเป็นจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันนี้ Search Engine อย่าง Google ได้พัฒนา Algorithm มาเพื่อจัดการกับลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพเหล่านี้แล้ว เพราะฉะนั้นการทำ Link Building ในยุคนี้จึงนิยมเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณนั้นเอง เพราะฉะนั้นเรามาดูหลักการในการเลือก Backlink เพื่อเว็บไซต์ของเรากันดีกว่า
หลักการดู Backlink ที่ดี
ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ โดยความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ผ่านเครื่องมือ MOZ ที่วัดค่าคะแนนโดเมนเป็น Domain Authority (DA) ที่ยิ่งมีค่าคะแนนสูงก็จะยิ่งแสดงความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์นั่น
ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน โดยลิงก์แบบนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่เราต้องทำการสร้างสรรค์เนื้อหาในเว็บไซต์ของเราให้มีคุณภาพ เพื่อให้เว็บไซต์อื่น ๆ ได้นำไปอ้างอิงและส่งลิงก์ให้
ลิงก์ที่สามารถเพิ่มคนเข้าเว็บไซต์ให้เราได้ ลิงก์จากเว็บไซต์อื่นๆ ที่สามารถเพิ่ม Traffic โดยการส่งคนเข้ามายังเว็บไซต์ของเราได้ถือเป็นอีกลิงก์ที่ดี เพราะแสดงว่าเว็บไซต์ที่ลิงก์มายังเว็บไซต์เรานั้นมีผู้ใช้งานจริง และเว็บไซต์ของเราก็มีความเกี่ยวข้อง ผู้ใช้ถึงได้คลิกตามมานั่นเอง
เราได้รู้หลักการดู Backlink ที่ดีเพื่อเพิ่มอันดับผลการค้นหา Search Engine ให้กับเราแล้ว แต่ทุกอย่างก็ย่อมมีสองด้าน เราดู Backlink ที่ดีเพื่อประโยชน์ไปแล้ว เราก็ต้องมาดู Backlink ที่ไม่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงกันต่อด้วย
หลักการดู Backlink ที่ควรหลีกเลี่ยง
ลิงก์ที่สร้างโดยโปรแกรมอัตโนมัติ เพราะในปัจจุบันการสร้างลิงก์ด้วยโปรแกรมอัตโนมัติถือเป็นการทำผิดกฎของ Search Engine ที่นอกจากจะไม่มีประสิทธิภาพแล้ว ก็ยังมีโอกาสทำให้อันดับเว็บไซต์ของเราบน Search Engine ต่ำลงได้อีกด้วย
ลิงก์จำนวนมากที่เป็น NoFollow ลิงก์ที่เป็น NoFollow คือ ลิงก์ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น แล้วไม่ต้องการให้ Bot ของ Search Engine ตามเข้าไปเก็บข้อมูล เข้าใจง่าย ๆ ก็คือลิงก์ที่ไม่ได้ต้องการส่งคะแนน search engine optimization ไปให้นั่นเอง
ลิงก์จาก Social Bookmark เพราะเดิมที Social Bookmark เคยเป็นช่องทางที่ใช้ในการสร้างคะแนนให้กับ search engine optimization ของเว็บไซต์เรา แต่ปัจจุบันการทำลิงก์จาก Social Bookmark นั้นจะทำแบบ NoFollow ซึ่งจะไม่ส่งผลดีกับ search engine optimization เพราะอาจถูกมองว่าเป็น Spam ได้
ลิงก์จากผู้ให้บริการรับสร้างลิงก์ราคาถูก โดยบริการรับสร้างลิงก์ราคาถูกมักจะนำลิงก์ของเราไปแปะไว้ในหลาย ๆ เว็บไซต์ เช่น Social Bookmark, Comment ตามบล็อก หรือการโพสต์ตาม Webboard ต่าง ๆ ซึ่งลิงก์แบบนี้นอกจากจะไม่มีคุณภาพแล้ว Search Engine อย่าง Google ก็อาจจะลงโทษได้เมื่อตรวจสอบแล้วว่าเป็นลิงก์ที่มาจากบริการรับสร้างลิงก์
เราได้เรียนรู้การจัดอันดับเว็บไซต์ของ Google, หลักการดู Backlink ที่ดีและควรหลักเลี่ยงไปแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มเรียนรู้ กระบวนการทำงานของมันกันเลยดีกว่า
กระบวนการทำงาน SEO
โดยกระบวนการทำงานของ search engine optimization ที่เรามีมาบอกทุกคนในวันนี้มีทั้งหมด 3 ขั้นตอน ซึ่งทางเราจะขอยึดหลักตามกระบวนการทำงานของ Google ดังนี้
Crawling คือการที่ Google ส่ง Googlebot หรือ Spider, Web Crawl ออกไปเก็บ Data ของเว็บไซต์ทั้งหมดที่กระจายอยู่บนอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลก โดยหน้าที่ของ Googlebot ก็คือการวิ่งไปตามเว็บไซต์ทั้งหมดผ่านลิงก์ที่เชื่อมโยงกันแล้วทำการเริ่มวิเคราะห์แต่ละเว็บไซต์ว่า นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร, เว็บไซต์นั้นเกี่ยวข้องกับ Keyword อะไร
Indexing คือขั้นตอนต่อมาเมื่อ Googlebot ออกไปเก็บ Data จนทราบแล้วว่าเว็บไซต์แต่ละเว็บเกี่ยวข้องกับอะไร และจะนำมาเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล (Indexing) ผ่าน Algorithm ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยทีมของ Google ในการจัดเก็บประเภทของเว็บไซต์ทั้งหมดว่าแต่ละเว็บไซต์เป็นเว็บไซต์ที่ความเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
Serving & Ranking โดยทันทีที่ผู้ใช้งานเริ่มทำการค้นหาด้วย Keyword ระบบของ Google ก็จะแสดงผลการค้นหาเป็น List ของเว็บไซต์ที่ถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล (Indexing) ซึ่งเว็บไซต์นั้นจะถูกจัดเรียงอันดับในหน้าการแสดงผลการค้นหา โดยมี Search Engine Algorithm หรือระบบการทำงานของ Google ที่จัดอันดับเว็บไซต์บนหน้าแสดงผลการค้นหาว่าเว็บไซต์ไหน จะได้อยู่อันดับที่เท่าไหร่ โดยต้องมี Keyword หรือเนื้อหาของเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ใช้งานค้นหามากที่สุด
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนก็คงจะเกิดข้อสงสัยเพิ่มเติมอีกว่า แล้วหากเราจะนำกระบวนการทำ search engine optimization มาพัฒนาเข้ากับหลักการตลาด เราจะทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพต่อธุรกิจเรามาที่สุด ฉะนั้นทางเราจึงได้นำเสนอขั้นตอนการทำ search engine optimization Marketing แบบมีประสิทธิภาพให้ทุกคนกันค่ะ
ขั้นตอนการเริ่มต้นทำ Search Engine Optimization Marketing
- วางกลยุทธ์กำหนดเป้าหมาย เพราะการวางกลยุทธ์นั้นยิ่งเราวางแม่นเท่าไหร่ โอกาสที่จะเติบโตในการทำ search engine optimization ก็ยิ่งมีมากเท่านั้น ซึ่งขั้นตอนในการวางกลยุทธ์และกำหนดเป้าหมาย อย่างแรกเราต้องกำหนด Keyword ที่ต้องการจะไปแข่งขันกับเว็บไซต์อื่น ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น หากเราจะขายแอร์ Keyword ทางตรงจะเป็น แอร์, หรือราคาเท่าไหร่ และสำหรับทางอ้อมก็จะเป็น แอร์บ้าน ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้จะช่วยให้เราทำได้อย่างถูกต้องตามเป้าหมายนั้นเอง
- Research Keyword วางโครงสร้างเว็บไซต์ โดยอันดับแรกเราต้องทำ Research Keyword ก่อนเพื่อหาว่าผู้ใช้งานหรือลูกค้าส่วนใหญ่มักจะค้นหาด้วย Keyword แบบไหน รวมถึงดูอัตราการแข่งขันใน Keyword แต่ละคำด้วยว่ามีอัตราการค้นหา (Search Volume) สูงแค่ไหน
- สร้างเว็บไซต์ หลังจากที่เราได้ Keyword หรือไอเดียในการหา Keyword แล้ว เราก็ต้องสร้างเว็บไซต์ ให้ถูกต้องตามเกณฑ์ของอันดับการค้นหา และให้ความสำคัญกับเนื้อหาในเว็บไซต์เราด้วย
- เขียน Content SEO เมื่อเว็บไซต์เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง เราก็จะเริ่มมาใส่คอนเทนต์ หรือเนื้อหาต่าง ๆ ลงไปในเว็บไซต์ โดยขั้นตอนนี้ถือว่ามีความสำคัญต่อ SEO เป็นอย่างมากเพราะหากคอนเทนต์ของเรามี Keyword ที่ตรงตามความต้องการ ก็จะทำให้ติดอันดับการค้นหาใน Keyword นั้น ๆ ได้
- ปรับแต่ง On-Page SEO หลังจากที่เราสร้างคอนเทนต์สำหรับการทำ SEO ไปบ้างแล้ว เราก็จะเริ่มทำการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตรงตามความต้องการของ Google ด้วยการทำ On-Page SEO หรือ On-Site SEO ที่เป็นการปรับแต่งเนื้อหาคอนเทนต์ภายในหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าหลักและหน้าเพจอื่น ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์สามารถติดหน้าแรกเมื่อมีการค้นหาบน Google
- Link Building เมื่อเราได้ทำ On-Page SEO แล้วขั้นตอนต่อมาก็คือการทำ Link Building หรือการทำให้เว็บไซต์อื่น ๆ ลิงก์กลับมายังเว็บไซต์เรา (Off-Page SEO) ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์ของเราได้รับความน่าเชื่อถือในสายตาของผู้ใช้งาน เพราะถือว่าเว็บไซต์ของเรามีคุณภาพที่จะเป็นแหล่งอ้างอิงให้เว็บไซต์อื่นได้นั่นเอง
- Measurement (วัดผล) และ Optimization (ปรับแต่งแก้ไข) หลังจากที่เราได้ทำการปรับแต่งเว็บไซต์ทั้ง On-Page และ Off-Page เรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องทำการวัดผล (Measurement) และการปรับแต่งแก้ไข (Optimization) ด้วยเพราะถ้าเราทำ search engine optimization แต่ไม่ได้มีการวัดผลเลย เราก็จะไม่รู้ว่าปัจจุบันเว็บไซต์ของเราเข้าใกล้เป้าหมายที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด และหากเว็บไซต์ของเรายังไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ มันเกิดจากสาเหตุอะไร เพื่อแก้ไขต่อไป
สรุป
search engine optimization ก็คือหลักการปรับแต่งเว็บไซต์ ทั้งปรับปรุงเนื้อหาคอนเทนต์ และเพิ่ม Backlink ที่มีคุณภาพมายังเว็บไซต์เรา เพื่อเป็นการโปรโมทเว็บไซต์ของเราให้ติดอยู่ในอันดับต้น ๆ บน Search Result Page หรือหน้าแสดงผลการค้นหา โดย search engine optimization ถือว่าเป็นประโยชน์มาก ๆ ต่อการทำธุรกิจดิจิทัลหรือการโฆษณาแบรนด์ แต่ถึงอย่างนั้นการที่เราจะใช้ search engine optimization ให้ได้ประโยชน์ต่อเว็บไซต์ของเรามากที่สุด เราก็ต้องทำตามกระบวนการทำงานของ Google ด้วยเป็นสำคัญ
ผู้ประกอบการท่านใด ต้องการเดินบนเส้นทางธุรกิจออนไลน์ ปรึกษา Exvention ได้เลยครับ
นอกจากนี้เรายัง รับทำเว็บไซต์ อีกด้วยท่านใดสนใจติดต่อเราได้เลยครับ
Reference :
search engine optimization BLOG: Backlink คืออะไร? ลิงก์แบบไหนที่อาจทำให้โดนแบนจาก Google