UXUI

เข้าใจ UX UI เพื่อใช้พัฒนาธุรกิจบน Digital Platform

ux ui คืออะไรเรามาหาคำตอบกัน ในปัจจุบันเราเจอกับ Digital disruption มากมาย ส่งผลให้ธุรกิจหลายอย่างต้องปิดตัวลงไป แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาไปพร้อมกับยุค Digital ก็ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ เพราะถ้าเราหยุดพัฒนาธุรกิจก็จะไม่สามารถตามคู่แข่งได้ทัน

ทุกวันนี้ Data ถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำธุรกิจ Data คือการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อนำมาใช้เจาะกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้อง เมื่อเราได้ข้อมูลของลูกค้ามาแล้ว ไม่ได้หมายความข้อมูลดิบนั้นจะสามารถนำมาใช้ได้ทันที ต้องนำข้อมูลมากรองและทำความเข้าใจลูกค้าให้ดีเสียก่อน จึงทำให้ความสำคัญและบทบาทของการพัฒนาหรือดีไซน์ด้าน UX/UI มีมากขึ้นสำหรับการทำธุรกิจ

(คำว่า แอพพลิเคชั่น ในบทความนี้ สามารถสะกดให้ถูกต้องได้ว่า แอปพลิเคชัน แต่ในบทความนี้ขออนุญาตสะกดว่า แอพพลิเคชั่น แทน เพื่อประโยชน์ทาง SEO ที่ดี)

Contents hide

UX คืออะไร

UX หรือ User Experience คือ ความคาดหวังผลลัพธ์ที่อยากได้จากการแก้ปัญหา จะเป็นความง่าย ความสนุก ความหรูหราหรืออะไรก็ได้ ซึ่งมันขึ้นอยู่กับบริบทที่เกิดขึ้น หรือระบบต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ความสะดวกสบาย ใช้งานง่าย ความสนุกสนาน จนเกิดเป็นความพึงพอใจสูงสุดหรือเกิดประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งานนั่นเอง

การออกแบบด้านนี้จะเกี่ยวกับกระบวนการที่สินค้าหรือบริการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ โดยเน้นการเก็บข้อมูล เพื่อเอากลับมาพัฒนาตัวสินค้าหรือบริการต่อไป เช่น การทำ Usability Testing หรือการให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ (ยกตัวอย่างเช่น Google Analytics) UX ถือ เป็นหัวใจของการออกแบบทุกประเภท เพราะเป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้หรือลูกค้าขององค์กรรู้สึกดีและพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการ

ขณะเดียวกันที่เราเจอปัญหาเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เราเจอในอดีตเป็นยังไง เช่น เราเคยใช้แอปพลิเคชันโอนเงินที่มันใช้ QR Code ถ้าเราจะทำแอปพลิเคชันใหม่ให้คนที่เคยใช้ มันก็ต้องปรับการที่ต้องกดนั่นกดนี่ให้น้อยลงและทำงานหรือสั่งการได้เร็วขึ้น เช่น  พวกแอปพลิเคชันธนาคารในปัจจุบันที่ต้องคอยปรับแต่งให้มีรูปแบบการใช้งานที่สะดวกสบายตอบโจทย์ยุคสมัยได้เสมอ

หรือกล่าวได้ว่าเป็นประสบการณ์ของผู้ใช้งานในด้านความรู้สึกที่ตอบสนองต่อการใช้งานผลิตภัณฑ์ ฉะนั้นในอีกแง่นึง User experience หรือ UX มีการพัฒนามาจากผลของการปรับปรุง UI เมื่อมีบางอย่างให้ผู้ใช้ได้โต้ตอบกับประสบการณ์ของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นแง่บวก ลบ หรือเป็นกลาง สามารถเปลี่ยนวิธีที่ผู้ใช้รู้สึกเกี่ยวกับการโต้ตอบเหล่านั้น

UX จึงเป็นจุดที่ต้องพยายามศึกษาและทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร แบบไหน พอใจไหม กลุ่มเป้าหมายมีใครบ้าง มีอะไรน่าสนใจบ้าง อย่างละเอียด เพื่อให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานมากที่สุด ฉะนั้นอาจเปรียบได้ว่า UX คือ “ศาสตร์แห่งความพยายามเข้าใจผู้อื่นเพื่อประโยชน์อันสูงสุด”

ภาพคำจัดกัดความของ User experience design (UX) และการทับซ้อนกับศาสตร์ต่าง ๆ

UX

Reference: ภาพจาก Visually

 

UI คืออะไร

UI หรือ User บวก Interface เป็นการออกแบบแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่ธุรกิจทำไว้เพื่อติดต่อกับผู้ใช้ ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น เกม ฯลฯ โดยที่ดีไซน์ต้องสวยงาม ชัดเจน และเป็นรูปธรรม สำหรับให้นักพัฒนาแอปฯ หรือโปรแกรมเมอร์สามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ทันที และที่สำคัญ การออกแบบนั้นต้องโดดเด่นแต่เข้าใจง่าย ไม่ลำบาก ต้องมาเรียนรู้วิธีใช้งานที่ยุ่งยากจนเกินไป

สร้าง first impression ที่ดีให้กับผู้ใช้งานไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสี ฟ้อนต์ การจัดวางองค์ประกอบต่างๆ คำนึงถึงภาพลักษณ์และความสวยงามอยู่เสมอ

ซึ่งเป็นส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน หรือ ส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน กล่าวคือ ส่วนที่ให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของหน้าตา การออกแบบ และการดีไซน์ ยกตัวอย่างเช่น หน้าจอ แพลตฟอร์ม เมนู ฟอร์มต่าง ๆ การวางภาพ ขนาดตัวอักษร ปุ่ม แป้นพิมพ์ เสียง หรือแม้แต่แสงไฟ เป็นต้น

สิ่งสำคัญสำหรับ UI ก็คือดีไซน์ที่ดูสะอาด สวยงาม ดึงดูดใจ อีกทั้งต้องเข้าใจง่าย ใช้งานง่าย มีมาตรฐานและเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังต้องมีฟังก์ชันที่น่าสนใจ มีภาษาภาพที่ทำให้คนเกิดความรู้สึกอยากจะใช้งาน และที่สำคัญจะต้องมีความเป็นเอกลักษณ์ โดดเด่น แต่ก็ไม่ล้นหรือต่างมากจนเกินไป ฉะนั้นอาจเปรียบได้ว่า UI คือ “ศาสตร์แห่งความสวยความงาม” ที่จะมาเติมเต็มให้ UX ออกมาเป็นรูปร่างจนเกิดเป็น first impression ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งานนั่นเอง

 

ความแตกต่างระหว่าง UX UI

UI คือ สิ่งที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อย่างเราเห็นสีรถ เราออกแบบเว็บไซต์ เราเห็นการตกแต่งตึก แต่หัวใจของสิ่งเหล่านั้นที่เราเห็นก็คือ UX ลองหลับตาแล้วนึกถึงรถที่ต้องเกาะถนน เว็บไซต์ที่เข้าไปไม่หลง หรือตึกที่กรองแสงแดดได้ยอดเยี่ยม เหล่านี้คือเหตุผลเบื้องหลังที่กระทบกับจิตใจของผู้ที่ใช้งานทั้งสิ้น ก่อนจะเริ่มทำ UX ต้องรู้จักคนใช้งานเสียก่อนถึงจะเข้าใจความคาดหวังของผู้ใช้ได้ แล้วจึงนำเอามาบอกนักออกแบบ UI ให้เขาทำให้มันสวยในกรอบที่ UX กำหนด

หรือกล่าวได้ว่า

UX = ให้ความสำคัญกับอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้
UI = ให้ความสำคัญกับความสวยงาม การติดต่อกับผู้ใช้ และข้อมูลทางด้านเทคนิคอื่น ๆ มองง่าย ๆ ก็คือ ส่วนที่ผู้ใช้มองเห็นและกระทำการบางอย่างกับมัน (interface และ interact)

หากจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง UX / UI กันแบบง่าย ๆ ก็ให้ท่านลองนึกถึงการออกแบบรองเท้าสักหนึ่งคู่ การที่เราคำนึงถึงการออกแบบ ลวดลาย การดีไซน์ออกมาให้ดูสวยเก๋ รวมถึงการใช้วัสดุที่ดีมีคุณภาพ (ตรงนี้คือ UI) และการที่เราคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า อยากให้ลูกค้าใส่แล้วรู้สึกเบา สบาย สวมใส่ง่าย รับกับสรีระ และไม่กัดเท้า (ตรงนี้คือ UX) นี่คือปรัชญาของการออกแบบทุกสรรพสิ่งในโลก

หากเราอยากจะออกแบบเว็บไซต์ (Design Web) เช่น การออกแบบลวดลาย, การเลือกสีของตัวอักษร, ขนาดของตัวอักษร, Background, Mood & Tone ของเว็บไซต์, ธีมที่ใช้ หรือแม้แต่การใช้เว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงเป็นตัวอย่างในการออกแบบความสวยงามให้เหมาะสม ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่จัดว่าเป็น UI

ส่วนการที่ต้องมีฟังก์ชันพื้นฐานในการใช้เว็บไซต์ เช่น การแบ่งหมวดหมู่ของเนื้อหา, ช่องทางการติดต่อ, การเชื่อมต่อ User กับแพลตฟอร์มที่สะดวก, ฟังก์ชันการค้นหาที่มีคุณภาพ ฯลฯ แม้แต่การเพิ่มฟังก์ชันที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม ทุกสิ่งที่กล่าวมาล้วนเรียกว่า UX คงต้องบอกเลยว่าในการออกแบบเว็บไซต์ (Design Web) สิ่งที่ควรคำนึงมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น UX/UI 

การทำงานทั้งสองตำแหน่งจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาดีที่สุดครับ เพราะถ้ามี UX ที่ดี มีการใช้งานที่ง่ายแต่หน้าตาไม่สวยก็ไม่ได้ และกลับกันว่าถ้ามี UI ที่สวยงามมาก แต่ใช้งานยากจนกว่าที่ผู้ใช้งานไม่สนใจก็ไม่โอเคเช่นกัน 

ฉะนั้นจึงต้องมี Designer ที่เป็นตำแหน่ง UX/UI  โดยจะเป็นนักออกแบบที่เข้าใจผู้ใช้งานในระดับหนึ่ง รู้ว่าผู้ใช้งานชอบแบบไหน ไม่ชอบแบบไหน เพื่อให้มีข้อมูลในการนำมาออกแบบผลิตภัณฑ์ของเรานั่นเอง

โดยปกติแล้ว UX จะสร้างสิ่งที่ง่ายต่อการใช้งาน มีประโยชน์แต่ UI จะเน้นสร้างความสวยงาม ซึ่งบางทีอาจจะมีหรือไม่มีประโยชน์ก็ได้ โดยปกติแล้ว UX UI จึงต้องทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสิ่งที่มีประโยชน์และสวยงามนั่นเองครับ ถ้าเกิดเว็บไซต์มี UX&UI ที่ดีแล้ว ก็จะเพิ่มโอกาสการจัด SEO ที่ดียิ่งขึ้น

difference-between-UI-and-UX

Reference: ภาพจาก IMAGINXP

 

ความสำคัญของ UX UI

การออกแบบหรือการทำงานทุกชนิดล้วนต้องมีความสำคัญเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ได้รับ เช่นเดียวกันการออกแบบ UX UI ซึ่งหลังจากเปิดใช้ผู้ใช้งานได้ใช้แล้ว ผู้ใช้งานต้องได้รับประโยชน์และชิ้นงานต้องได้รับประโยชน์ควบคู่กันไปด้วย เช่น

ทำให้เว็บไซต์ใช้งานง่าย

หากเคยเข้าเว็บไซต์ แล้วรู้สึกว่าเว็ปไซต์นั้นใช้งานยาก หาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ หรือไม่เข้าใจกับลำดับขั้นตอน ในการเข้าไปสู่หน้าเพจต่างๆ ในเว็บไซต์ เว็บไซต์มีความสวยงามหรือไม่มีปัญหา เช่น ช้า ค้าง แต่กลับรู้สึกขัดใจ นั้นก็แปลว่าเว็บไซต์นั้นไม่ได้ออกแบบ UX มาให้ดี เพราะถ้าเว็บไซต์มีการออกแบบ UX ที่ดี ผู้ใช้งานก็จะรู้สึกสะดวก ใช้งานอย่างลื่นไหล มีประสบการณ์การใช้งานที่ดีต่อเว็บไซต์

ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย

การออกแบบ UX จะช่วยจัดวางตำแหน่งหรือช่องค้นหาข้อมูล Search Engine ได้ง่ายต่อการมองเห็น เช่น ด้านบนของเว็บไซต์ ทำให้ผู้ใช้ ใช้งานได้ดีมากขึ้น

ทำให้เว็บไซต์มีความสวยงาม

บางเว็บไซต์มีการออกแบบ UX โดยไม่สนใจ UI หน้าเว็บไซต์จะไม่น่าสนใจและมีรูปแบบที่ไม่สวยงาม หรืออาจส่งผลต่อการอ่านเนื้อหา เช่น ตัวอักษรอ่านยาก ขนาดของตัวอักษรเล็กเกินไป 

ทำให้ตอบสนองความต้องการผู้ใช้ได้ดีขึ้น

เมื่อผู้ใช้มีประสบการณ์ใช้งานที่ดีต่อเว็บไซต์ ผู้ใช้จะอยากกลับมาใช้งานเว็บไซต์ ทำให้ได้เปรียบเว็บไซต์อื่นๆ ที่ไม่ได้ออกแบบ UX และ UI

ทำให้เว็บไซต์ดูน่าเชื่อถือ

เว็บไซต์ที่มีการออกแบบทั้ง UX และ UI ย่อมออกมาดูน่าสนใจ ใช้งานสะดวก จะบ่งบอกถึงความใส่ใจต่อสินค้าและบริการ รวมถึงผู้ใช้งาน ทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น

UX และ UI เป็นสิ่งที่มีประโยชน์และสำคัญอย่างมากต่อการทำการตลาดออนไลน์ อีกทั้งยังช่วยให้สามารถติดต่อประสานงานระหว่างผู้ออกแบบหรือดีไซเนอร์ได้ง่ายขึ้น ถ้าออกแบบ User Experience มาก่อน จะเป็นการกำหนดว่า User Interface ที่อยากได้จะมีหน้าตาออกมาแบบไหน จะทำให้ทุกฝ่ายทำงานง่ายขึ้น

 

ตัวอย่างการออกแบบ UX ที่ยอดเยี่ยม

หากให้ยกตัวอย่างแล้ว เราขอแนะนำ Zendesk ซึ่งเป็น Software ด้านการทำ Customer Support แบบ Omnichannel โดยการออกแบบหน้าตาของแพลตฟอร์ม (UI) นั้นทำออกมาได้สวยงามและเรียบง่ายมาก

เมื่อเอเจนต์ได้ใช้งานแล้วรู้สึก (UX) ใช้งานง่าย สะดวก และไม่ต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจกับระบบ เพราะ Zendesk คำนึงถึงการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับทั้งเอเจนต์และลูกค้า (UX) ดังสโลแกนที่ว่า “The best customer experiences are built with Zendesk”

10 เทคนิคการออกแบบ UX UI ยังไงให้ดูดีขึ้น

วิธีการออกแบบนั้นมีมากมายหลายวิธี ซึ่งจะยกตัวอย่าง 10 เทคนิคการออกแบบ UX UI ให้สวยงามและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานมากที่สุด

ออกแบบ Call to action (Secondary CTA)

ทั่วไปแล้วการออกแบบปุ่มต่าง ๆ ส่วนมากจะเป็นปุ่มใหญ่ ๆ ที่สังเกตได้ง่าย และสะดุดตา แต่การออกแบบปุ่มที่เป็นเพียงข้อความ (text) แค่อย่างเดียว นอกจากหลีกเลี่ยงการตอบสนองที่เราไม่ต้องการให้ผู้ใช้งานกดแล้ว จะช่วยให้การตอบสนองของผู้ใช้งานนั้นเป็นไปตามที่เราวางแผนไว้ในแต่ละ flow ได้น่าพึงพอใจมากขึ้น

ลดการใช้กรอบและเส้นลงบ้าง (Border-less)

ถึงแม้ว่าการออกแบบโดยใช้เส้นและกรอบ  จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถแยกบรรทัด และสัดส่วนที่แบ่งแยกกันได้ง่าย แต่ก็ทำให้การออกแบบนั้นดูยุ่งยากมากขึ้นด้วยเช่นกัน การจัดวางข้อมูลที่เรียบง่ายประกอบกับ User Interface ที่ไร้เส้นของ จึงไม่ใช่ปัญหาในการใช้งาน แถมยังทำให้การออกแบบดูง่ายมากยิ่งขึ้น

การจัดหน้าข้อความและไอคอน (Icon & Text Alignment)

การจัดหน้าตัวหนังสือ เป็นเรื่องปกติที่นักออกแบบส่วนมากนั้นต้องทำเป็นประจำอยู่กันแล้ว แต่บางครั้ง การวางไอคอน (Icon) หัวข้อ และเนื้อหาไปพร้อม ๆ กัน อาจเป็นสิ่งท้าทายในการจัดระเบียบเนื้อหาให้ดูอ่านง่าย ไม่รกสายตา การจัดหน้าจึงควรใช้การวางไอคอนต่าง ๆ เพื่อให้เนื้อหาดูน่าสนใจ อ่านง่าย และเรียบร้อยอีกด้วย

ความเข้มของข้อความ (Saturated Text)

ในการออกแบบระบบ ผู้ออกแบบอาจจะเจอกับ Guild line การออกแบบที่แตกต่างออกไป ในกรณีที่จำเป็นต้องออกแบบ โดยต้องวางตัวหนังสือที่มีสีที่ไม่สว่าง ลงบนพื้นหลังที่มีสีสัน อาจจะทำให้ข้อความนั้น ๆ ดูเหมือนกับโดน Disable ไว้หรือไม่ได้ใช้งาน หรือ ไม่โดดเด่นพอควร การออกแบบข้อความ จึงควรใช้สีที่สว่างมากขึ้น ตัดกับพื้นหลังมากขึ้น

ใช้เงาบาง ๆ (Subtle Shadow)

ปัญหาหนึ่งที่ผู้ออกแบบเจอบ่อยๆคือ การใช้สีจาก Corporate identity (CI) และ Style Guide ที่อาจจะขัดกับการใช้งานจริง ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อนำมาใช้กับการออกแบบ UI เช่น การวางข้อความสีขาวลงบนพื้นหลังที่มีสีสว่าง อาจทำให้ข้อความที่เราต้องการสื่อสารไม่มีความโดดเด่น ถ้าเปลี่ยนสีไม่ได้ การใส่เงาบาง ๆ ไปที่ตัวหนังสือ จะช่วยทำให้ข้อความดูอ่านง่ายและชัดเจนมากขึ้น

การใส่สไตล์ให้ไอคอน (Icon styling)

การใช้ไอคอนสำหรับงานออกแบบ เป็นที่นิยมที่ทำแทบจะทุกเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน ที่เราเข้าใช้งาน แต่การออกแบบไอคอนให้ ไปในทิศทางเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ (Consistency) นั้นใช้เวลาในการออกแบบ การใช้ไอคอนสำเร็จรูปจึงถูกใช้มากขึ้น แต่ก็อาจมีปัญหาเรื่อง Consistency ตามมาด้วยเช่นกัน พูดง่าย ๆ คือ ไอคอนอาจดูไม่เป็นเซ็ตเดียวกัน การใช้น้ำหนักเส้น ช่องว่างอาจจะไม่เท่ากันนั่นเอง

การแก้ปัญหาง่ายที่นิยมใช้และได้ผลมาก ๆ คือ การวางพื้นหลังลงไปที่ไอคอน จะช่วยให้การวางไอคอนจะดูโดดเด่นและดูไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น

เทคนิคการใช้สีเทาในงานออกแบบ (Grey but not grey)

เทคนิคการใช้สีเทานั้น ไม่ได้หมายความว่าเทาจริง บางครั้งการใช้สีเทาอาจทำให้งานดูจืดไป ฉะนั้น การแตะเเต้มสีเทาอมฟ้า หรือน้ำตาล หรือสีใน color palette เพื่อให้งานอุ่นหรือเย็นสบายตา เข้าไปก็จะทำให้งานของคุณดีขึ้นมาได้ทันที

ข้อความ ขนาด น้ำหนัก (Text -size-weight)

การใช้น้ำหนักข้อความที่ต่างกัน เพื่อเน้นข้อความนั้นเป็นที่นิยมใช้กันมาก แต่หากการออกแบบข้อความ Typography บางครั้งอาจทำให้งานออกแบบนั้นดูโต้งต้าง  และอาจดูใหญ่และบวม เกินความจำเป็น ดังนั้น การออกแบบข้อความที่มีขนาดใหญ่และเล็กคู่กัน

โดยไม่ทำให้กลุ่มตัวอักษรดูแปลกแยกเกินไปและดู Consistency คือการให้น้ำหนักที่ต่างกัน คือ ตัวอักษรที่ใหญ่มาก อาจใช้ตัวบาง ส่วนตัวอักษรปกติให้ใช้ตัวปกติแทน ซึ่งจะช่วยให้งานออกแบบดูเรียบร้อยและน้ำหนักของเส้นสายตัวหนังสือเท่ากัน

จัดการแบนเนอร์ใหญ่ (Hero Banner)

การออกแบบแบนเนอร์สวย ๆ บางครั้งเราอาจไม่มีภาพสวย ๆ ที่จะนำมาประกอบภาพแบนเนอร์ และอีกอย่าง ข้อความบนแบนเนอร์อาจจะมีความสำคัญกว่าการสื่อสารด้วยภาพ และอาจมีความยาวเกินกว่าที่จะวางรวมกันได้ การแก้ปัญหาที่ทำให้งานออกแบบออกมาดูเท่ ดูดี ที่ง่ายและนิยมกันมากคือ การวางข้อความลงบนภาพที่เทด้วยสีชนิด high contrast คือไม่กลืนไปด้วยกัน เป็นการสื่อสารที่เน้นข้อความที่โดดเด่นโดยตรง แถมยังดูดีไปอีกแบบ

ซ้อนทับ เพิ่มมิติ (Overlapping element)

การวางองค์ประกอบต่าง ๆ แบบแบ่งแยกเป็นสัดส่วนนั้นอาจดูใช้งานได้ดี ดูง่าย แต่อาาจะใช้พื้นที่แต่ละส่วนเยอะเกินไป อีกทั้งยังดูจำเจ การแก้ปัญหาง่าย ๆ คือการวางเลเอาต์ (Layout design) ที่เหลื่อมทับกัน นอกจากการประหยัดพื้นที่แล้วยังทำให้การออกแบบดูน่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย

User Experience Design ออกแบบที่มากกว่าแค่ออกแบบ

เมื่อธุรกิจส่วนใหญ่ก้าวเข้าสู่การซื้อขายบนแพลตฟอร์มดิจิทัล การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน (User Experience – UX) ส่วนติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ (User Interface – UI) จึงกลายเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้การนำเสนอสินค้าและบริการผ่านช่องทางดิจิทัล เป็นที่น่าพอใจ ทำให้ลูกค้าประทับใจมากที่สุด

ไม่แตกต่างจากการซื้อขายกับพนักงานผ่านช่องทาง Offline เป็นเรื่องสำคัญ แต่หลายธุรกิจยังอยู่ในช่วงเริ่มปรับตัว โดยเพิ่งจะมีการพัฒนาช่องทางการขายหรือการให้บริการแบบดิจิทัล ทำให้อาจยังไม่ค่อยคุ้นเคยหรือมีการนำมาปรับใช้อย่างไม่ถูกวิธี

จึงไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ คำแนะนำหลักการเบื้องต้น ในการนำ UX/UI ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ โดยสามารถแบ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งานสำหรับสินค้าและบริการบนโลกดิจิทัลออกเป็น 4 เรื่องหลัก

  1. การออกแบบการสื่อสาร (Information Design) เป็นการจัดวางลำดับความสำคัญในการนำเสนอข้อมูลผ่านการใช้ภาพและข้อความ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจการใช้งานได้ง่ายที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
  2. การออกแบบหน้าตา (User Interface Design) ต้องให้ความสำคัญกับการจัดวางโครงสร้าง (Layout) ให้มีสีสัน หรือรูปทรงต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งานบนหน้าจอให้แสดงผลได้ตรงกับเป้าหมายของธุรกิจ
  3. การออกแบบการตอบสนอง (Interaction Design) เช่น การวางปุ่มกด และกลไลการแสดงผล แสดงภาพเคลื่อนไหว เพื่อสร้าง Call to Action กระตุ้นให้ลูกค้าเกิดการตอบสนองตามเป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่ธุรกิจต้องการ
  4. การออกแบบให้เกิดประสบการณ์ร่วม (Emotional and Engagement Design) ต้องสร้างประสบการณ์การ ให้การใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ยุ่งยาก และไม่ซับซ้อน รวมถึงออกแบบการเชื่อมต่อกันระหว่างขั้นตอนต่างๆ ให้กระชับ เพื่อสร้างความรู้สึกดีในการใช้งาน และทำให้ผู้ใช้งานอยากกลับมาใช้ซ้ำอย่างต่อเนื่อง

การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน (UX Design) จึงไม่ใช่แค่การออกแบบโดยคำนึงถึงความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องคำนึงถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด เพื่อให้ธุรกิจได้รับประโยชน์สูงสุด

เช่น การช่วยให้พนักงานขายสินค้าได้จำนวนที่มากขึ้นและใช้เวลาเร็วขึ้น ลดปัญหาในการใช้งานระบบ ยังมีการแจ้งปัญหาผ่าน Call Center เพื่อเพิ่มความสะดวกให้พาร์ทเนอร์ในการนำข้อมูลไปใช้งาน ทั้งระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) ระบบบริหารจัดการพนักงาน (Workforce Management Systems) หรือการวางข้อมูลบนหน้าจอ รายงานในเครื่องมือต่างๆ

เพื่อช่วยให้การนำเสนอข้อมูลเข้าใจง่าย (Reporting Tools)  การออกแบบ UX/UI เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการขององค์ธุรกิจมากที่สุด มี 3 ข้อที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ ตีโจทย์ปัญหาให้ถูก (Right Problem) ออกแบบวิธีแก้ไขปัญหาที่ใช่ (Right Solution) และใช้แก้ปัญหาจริง (Right Execution)

  • ตีโจทย์ปัญหาให้ถูก (Right Problem)
    เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด โดยเริ่มจากการตั้งคำถาม 2 ส่วน คือ กำลังแก้ปัญหาอะไร และ แก้ปัญหาให้กับใคร แต่กระบวนการทำ UX Design ที่ดีควรเริ่มจากการตั้งสมมติฐานว่าใครคือผู้ใช้งานเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ถ้าหากยังไม่แน่ใจก็ต้องเริ่มจากการสัมภาษณ์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการและความรู้สึกของลูกค้าเกี่ยวกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ ควรระวังข้อผิดพลาดที่สำคัญที่สุดของกระบวนการค้นหาปัญหา
    คือ การคาดการณ์ปัญหาของผู้ผลิตและลูกค้าเหมือนกัน ไม่มีการทดสอบหรือเก็บข้อมูลโดยตรงจากผู้ใช้งานเป้าหมาย ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมาก
    เช่น ผู้ใช้งานอาจไม่ได้ใช้ Feature ที่ธุรกิจพัฒนาขึ้นมา จะทำให้สูญเสียทั้งเวลา ทรัพยากรบุคคล และงบประมาณ ดังนั้นจำเป็นต้องเก็บข้อมูลเชิงลึกของตัวแทนผู้ใช้งาน (User Persona) ว่าลูกค้าคือใคร และมีกระบวนการใช้งานสินค้าหรือบริการอย่างไร (Customer Journey) จะทำให้เห็นภาพผู้ใช้งานอย่างชัดเจน
    ถัดมาคือการค้นหาว่าอุปสรรคที่ขัดขวางการซื้อสินค้าของลูกค้าคืออะไร เช่น หน้าตาแอปพลิเคชันไม่น่าดึงดูดจึงทำให้ขายสินค้าได้ยาก หรือระบบยังไม่ช่วยให้พนักงานสื่อสารได้ง่ายขึ้น เพราะต้องกรอกข้อมูลหลายขั้นตอน
    หากไม่แน่ใจว่าจะตั้งคำถามอย่างไร หรือคำถามถูกต้องหรือไม่ อาจแก้ปัญหาด้วย 2 วิธี ดังนี้1.สัมภาษณ์ผู้ใช้งาน พูดคุยกับผู้ใช้งานเพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่แตกต่างกันในหลายมุมมอง และค้นหาว่าอะไรคือปัญหาที่ผู้ใช้งานพบบ่อยที่สุด โดยอาจเป็นการสัมภาษณ์เดี่ยวเพื่อพูดคุยรายละเอียดเชิงลึก
    2.ทดลองใช้งานจริง สร้างโมเดลต้นแบบให้ทดลองใช้งานจริง เพื่อทำความเข้าใจ Customer Journey ผ่านการสังเกตขั้นตอนการใช้งาน เพื่อค้นหาว่าปัญหาเกิดขึ้นในขั้นตอนใด และเหตุใดประสบการณ์การใช้งานจึงไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง โดยหากต้องการได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น อาจต้องใช้การทดลองในรูปแบบวิทยาศาสตร์ เช่น การกำหนดตัวแปร หรือสังเกตพร้อมจัดการทดลองโดยไม่มีอคติส่วนตัว

 

  • ออกแบบวิธีแก้ไขปัญหาที่ใช่ (Right Solution)
    ในขั้นตอนการออกแบบต้องประเมินว่าวิธีใดสามารถช่วยแก้ไขปัญหาขององค์กรได้อย่างตรงจุด โดยอ้างอิงจากความต้องการของลูกค้าและปัญหาที่พบ รวมถึงคาดการณ์เพิ่มเติมถึงเวลาที่ลูกค้าใช้งานจริง
    เช่น แพลตฟอร์มขายสินค้าหน้าร้านควรมีรูปแบบการเก็บสถิติที่เป็นระบบและการแสดงข้อมูลที่เข้าใจง่าย เพื่อช่วยให้พนักงานทำงานได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ การออกแบบยังควรมีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า เช่น การปรับตาม Corporate CI การปรับตามเงื่อนไขบางอย่างของลูกค้า
    หรือการปรับตามลักษณะเฉพาะของแต่ละธุรกิจ เนื่องจากบางธุรกิจอาจมีรูปแบบประสบการณ์การใช้งานที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง แตกต่างจากการออกแบบประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ทั่วไปโดยสามารถแบ่งเป้าหมายของการออกแบบได้ 5 ประเภท

    1. สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ธุรกิจ
    เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง (Unmet Needs) และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ
    2. เพิ่มฟีเจอร์หรือฟังก์ชันการใช้งาน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เดิมสามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น
    3. ปรับการออกแบบ (Redesign) ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการทำงาน (Workflow) ฟีเจอร์ หรือการใช้งานต่างๆ เนื่องจากการออกแบบเดิมไม่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ เช่น ไม่กระตุ้นให้ลูกค้าอยากซื้อสินค้า ลูกค้าหยุดใช้งานแอปพลิเคชันทำให้สูญเสียรายได้จากการเก็บค่าบริการ หรือมีค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบสูงเกินไป
    4. ปรับการออกแบบตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เช่น รูปแบบการใช้งานเดิมไม่รองรับระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่
    5. ยกระดับประสบการณ์ใช้งานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจตามที่คาดหวังไว้ เช่น เพิ่มยอดขายสินค้าใหม่ ลดความยุ่งยากในการใช้งาน หรือเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน

 

  • ใช้แก้ปัญหาจริง (Right Execution)
    ข้อสุดท้ายเป็นการนำการออกแบบไปปรับใช้จริงกับกระบวนการทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่องค์กรต้องการ โดยสิ่งสำคัญที่ชี้วัดว่าการออกแบบจะช่วยแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ คือความยากง่ายในการใช้งาน (Usability)ซึ่งสามารถประเมินได้จากหลักการ 5 ข้อ ดังนี้
    1.เข้าใจง่าย (Learnability) สามารถใช้งานโดยที่ไม่ต้องดูวิธีการใช้
    2.ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ในการทำงานตามที่ต้องการอย่างรวดเร็ว และไม่ติดขัด
    3.วิธีการใช้งานจำง่าย (Memorability) ไม่จำเป็นต้องทำความเข้าใจใหม่ตั้งแต่ต้นเมื่อกลับมาใช้งานอีกครั้ง
    4.ข้อผิดพลาดน้อย (Error) ไม่พบปัญหาติดขัดเวลาใช้งาน หรือเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขความผิดพลาดได้ไม่ยาก
    5.ความพึงพอใจเมื่อใช้งาน (Satisfaction) เช่น มีการจัดวางตัวอักษรที่อ่านง่าย มีสีสันที่สบายตา

สำหรับการทดสอบความยากง่ายในการใช้งาน (Usability Testing) สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังนี้

1.สร้างตัวต้นแบบ (Prototype) เพื่อทดสอบคอนเซ็ปต์ของการออกแบบเบื้องต้น โดยอาจพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฟีเจอร์จำกัด หรือ Demo Application

2.ร่างแผนการทดสอบ ต้องสามารถตอบคำถามสำคัญ คือ ทำการทดสอบอะไร และมีวิธีวัดผลอย่างไรโดยอาจถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ หรือจำลองสถานการณ์แล้วให้ผู้ทดสอบลองทำตามโจทย์ผ่านระบบ

3.ผู้ทดสอบลองใช้งานตามแผนที่กำหนด อาจจัดกิจกรรมเวิร์คชอปในสถานที่ใช้งานจริง หรือรูปแบบ Virtual โดยให้ผู้ทดสอบเปิดกล้องระหว่างการใช้งาน แต่ก่อนเริ่มการทดสอบควรอธิบายจุดประสงค์ให้ผู้เข้าร่วมได้ฟัง พร้อมทั้งบอกโจทย์ที่ต้องการให้ทดลอง ซึ่งในระหว่างการทดสอบไม่ควรชี้นำหรือตอบคำถามของผู้เข้าร่วม เพื่อให้ได้ฟีดแบคจากการใช้งานจริง นอกจากนี้ ควรสังเกตพฤติกรรมการใช้งานอย่างละเอียด เช่น ท่าทาง คำพูดระหว่างใช้งาน หรือผู้ใช้งานใช้เวลากับส่วนใดมากเป็นพิเศษ จากนั้นจึงประเมินว่าผู้ทดสอบสามารถทำได้สำเร็จตามโจทย์หรือไม่

4.นำฟีดแบคที่ได้ไปปรับปรุงการออกแบบให้ดีขึ้น โดยเริ่มจากการแก้ปัญหาที่พบบ่อย และส่วนที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานมากที่สุด เพื่อให้สามารถใช้งานในส่วนที่จำเป็นได้อย่างราบรื่น จากนั้นจึงทยอยแก้ปัญหาอื่น ๆ

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ องค์กรต้องเปลี่ยนมุมคิด (Mindset) ในการออกแบบ UX/UI เนื่องจากกระบวนการพัฒนาที่ดีควรจะมีการทำงานแบบ Interative หรือ การทดลองทำ จากนั้นจึงเก็บฟีดแบคเพื่อนำไปเรียนรู้และปรับปรุง แต่ต้องดำเนินการอย่างไม่มีอคติต่อผลลัพธ์หรือข้อสังเกตที่ได้รับ และไม่ยึดความชอบของตนเองเป็นที่ตั้ง เพียงเท่านี้องค์กรต่างๆ ก็สามารถมี UX/UI ที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้แล้ว

ออกแบบ UX อย่างไรเพื่อให้เกิดผล SEO ที่ดี

แบ่งหลัก ๆ ในการออกแบบ User Experience ที่ดีสำหรับผล SEO จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ต้องเช็คเรื่องโครงสร้างของเว็บไซต์และปรับแต่งเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานเข้าถึงได้รวดเร็ว

โครงสร้างของเว็บไซต์

User Journey ที่หลากหลาย

การเข้ามายังหน้าเว็บของเรามาจากหลายช่องทาง ทั้งกลุ่มที่รู้จักเราอยู่แล้ว และกลุ่มที่ไม่เคยรู้จัก Traffic ที่ดีควรมาจาก Organic Search อย่างไรก็ตาม User Journey ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามอยู่ดี

โครงสร้างเว็บไซต์ต้องง่าย 

หากโครงสร้างเว็บไซต์ง่าย ก็ช่วยทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น

ชื่อเมนูที่เป็นสากล

ช่วยทำให้ทั้ง Google และผู้ใช้งานเข้าใจง่าย ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องที่สำคัญมาก หากเทียบกับการเขียนคอนเมนต์

ปรับแต่งเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานเข้าถึงได้รวดเร็ว

Improve Page Speed

ยิ่งเว็บโหลดได้เร็วเท่าไหร่ ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้งาน และทำ SEO ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Mobile First Index

เมื่อผู้ใช้งานหันมาใช้อุปกรณ์ประเภทมือถือมากขึ้น การออกแบบเว็บไซต์ก็เหมาะสมกับอุปกรณ์ประเภทนี้ จะเป็นการทำ SEO ที่ได้ผลมากยิ่งขึ้น

จัดรูปแบบเนื้อหาให้อ่านง่าย

ออกแบบ Layout และการเรียงลำดับภาพรวมถึงข้อความในแต่ละหน้า จะทำให้ผลของ UX ดีขึ้น ส่งผลให้การทำ SEO ติดอันดับได้รวดเร็วขึ้น

 

ขั้นตอนของการออกแบบที่ผ่านรูปแบบ UX UI

ขั้นตอนของการออกแบบผ่านรูปแบบ UX UI ต้องคำนึงถึง 4 ข้อหลัก ดังนี้

1. Concept is important

คอนเซปต์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ควรประชุมหรือ Brainstorm ในทีมตั้งแต่ผู้บริหาร นักออกแบบ นักพัฒนา มาร์เก็ตติ้ง โดยเริ่มจากคิดว่า จะทำอะไร ทำไปทำไม ทำเพื่อใคร ทำยังไง ส่วนนี้จะมีทาง UX Designer ที่จะเข้ามาช่วยนำทีมและวางแผน ไม่ว่าจะเป็นการทำ Empathy Map และ Define กัน

2. Functional

หากโปรดักส์เป็นแอปพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ ขั้นตอนนี้ คือ การคิดฟีเจอร์ต่าง ๆ ภายใน ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องใช้เวลาในการคิดและตัดสินใจว่า ฟังก์ชันฟีเจอร์ต่าง ๆ อันไหนทำเงินได้ อันไหนเหมาะกับธุรกิจเรา อันนี้คู่แข่งทำแล้ว ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาของขั้นตอนนี้คือ การทำ Test ฟีเจอร์โดยการ Checklist feature ที่เราอยากจะทำ โดยแบ่ง ดังนี้

  • ฟีเจอร์ที่สำคัญสำหรับผู้ใช้ 
  • ฟีเจอร์ที่ทำให้ผู้ใช้พึงพอใจ 

วิธีนี้จะช่วยให้รู้ว่าควรจะทำอะไรก่อนหรือหลัง ซึ่งจะช่วยให้สามรถเรียงลำดับความสำคัญได้ง่ายขึ้น

3. Usability

ต่อมาจะเป็นหน้าที่ของ UX Designer ที่จะต้องทำ Wireframe และ Interaction Design เพื่อให้เกิดความคล้ายคลึงกับแอปพลิเคชั่นตัวจริงมากที่สุด ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเข้าเมนูส่วนนี้ คลิกที่ปุ่มนี้ หรือแม้กระทั่งการปัดหน้าจอของแอปพลิเคชั่น เป็นต้น

ซึ่งจุดประสงค์ของการทำ Usability นี้คือ ให้มองภาพได้ง่ายขึ้นต่อการเข้าใจภายในทีม และที่สำคัญ คือ เป็นการ Test ระบบการใช้งานและสังเกตความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายจริงในขณะทดลองใช้งานด้วยเพื่อให้ได้รู้ถึงความต้องการที่แท้จริงข้อดีของการทำ Usability ก่อนที่จะนำไปพัฒนาจริง คือ ถ้ามีจุดไหนที่ยังไม่ถูกใจผู้ใช้ หรือผู้ใช้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ก็สามรถนำไปปรับแก้ได้

4. Visual Design

ขั้นตอนนี้จะเป็นหน้าที่ของ UI Designer, Graphic Designer, Copywriter ต่างๆ หลังจากผ่าน 3 ขั้นตอนด้านต้น ก็ คือ ขั้นตอนของการนำเอา Wireframe และ Interaction Design จากทีม User Experience มาออกแบบหน้าตาให้สวยงาม เหมาะสม และใช้งานง่าย

 

UX UI ที่ดี กับ UX UI ที่ไม่ดี ดูจากอะไร

หัวข้อนี้ไม่จำเป็นต้องคิดอะไรเยอะ อะไรที่สวยแต่ใช้งานไม่ได้ก็คือไม่ดี เช่นเดียวกับอะไรที่ใช้ได้แต่ไม่สบายตาก็คือไม่ดี โดยธรรมชาติของมนุษย์คนเราจะพยายามหาทางที่ง่ายและรวดเร็ว เพื่อให้ชีวิตเราสะดวกขึ้นกว่าเก่า หากรู้สึกว่าสิ่งนั้นโอเคแล้ว สะดวกแล้ว มนุษย์อาจจะไม่หาอะไรมาเติมเต็มอีก ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น คนเราชินที่จะหยิบเงินจากตู้ ATM ก่อนที่จะหยิบบัตรเสมอ

หากต้องการเปลี่ยนแปลงเราก็ต้องลงทุนให้คนเรียนรู้มากขึ้น เช่นกัน ช่วงแรกที่หน้าตา Android เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ก็มีข้อวิจารณ์ไปต่าง ๆ นา ๆ แต่ทุกวันนี้เรื่องดังกล่าวก็เงียบลงเพราะเกิดจากกาลเวลาของผู้ใช้งาน แต่ถ้าอยู่ดี ๆ หน้าตา User Interface เปลี่ยนกลับไปเป็นแบบเดิม ผู้ใช้งานบางกลุ่มก็คงไม่ปลื้มเช่นกัน

 

UX UI Designer ใช้อะไรทำงาน

ในส่วนของ UX Designer นั้นจะสร้าง Wireframe เพื่อวางโครงสร้างหรือเนื้อหาภายใน Product ซึ่ง Tool ที่ใช้นั้นมีมากมายหลากหลาย เช่น 

Prototype โปรแกรมทำ Wireframe ตัวนี้มีทั้งบน Windows / Mac OS โดยแบ่งเป็นเวอร์ชั่นฟรี กับเวอร์ชั่นเสียเงิน

Pencil Project โปรแกรมทำ Wireframe ใช้ฟรี ๆ มีทั้งบน Windows / Mac OS

Cacoo Web App สำหรับทำ Diagram, Wireframe ออนไลน์ โดย Account ฟรีจะสร้าง -Wireframe ได้จำกัดหน้า

JumpChart Web App สำหรับทำ Wireframe Online ที่หน้าตาเรียบง่าย โดย Account ฟรีจะสร้าง Wireframe ได้จำกัดหน้า

FrameBox เป็น Web Application ที่เหมาะสำหรับทำ Wireframe มีฟีเจอร์น้อย แต่ใช้ฟรี เมื่อทำสร็จส่งลิงค์ให้ลูกค้าได้ทันที

IPlotz เป็น Web Application สำหรับสร้าง Wireframe ออนไลน์ที่มีสีสัน ใช้งานได้ฟรี แต่จะจำกัดหน้าในการใช้งาน

WireframeCC เป็น Web Application สำหรับทำ Wireframe ง่ายๆ มีทั้งขนาด Desktop, -Tablet, Mobile ให้เราเลือกใช้งานได้ตามความต้องการ

Figma เป็นเครื่องมือออกแบบเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น โลโก้ และอีกมากมาย ทำให้นักออกแบบ UX/UI สะดวกในการทำงานมากขึ้น ผ่านการใช้ฟีเจอร์ ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่การใช้งานบนได้ทุกระบบปฏิบัติการและยังมี Community ที่ผู้ใช้สามารถแชร์ไฟล์งาน Prototype หรือ Plug-in สามารถนำไปปรับใช้พัฒนากับงานของตัวเองได้

 

และในส่วนของ UI Designer นั้นจะนำ Wireframe ที่ได้มานั้นมาพัฒนาเป็น Interface ที่สวยงามมากยิ่งขึ้น ส่วน Tool ที่ใช้งานนั้นมีหลากหลายเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่าง เช่น

Sketch เป็นโปรแกรมที่มีไว้สำหรับออกแบบ Interface โดยเฉพาะ มีเครื่องมือการใช้งานที่ครบถ้วน พร้อมกับ Plug in มากมาย แต่ว่าในตอนนี้ Sketch รองรับแค่ Mac OS เท่านั้น

Adobe XD เป็นโปรแกรมในเครือของ Adobe ที่ทำขึ้นเพื่อออกแบบ UX และ UI สามารถอัพโหลดไฟล์งานขึ้นบนเว็บไซต์พร้อมทั้งสามารถทดลองเล่นเป็น Prototype ได้อีกด้วย

Zeplin เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่เอาไว้ใช้งานคู่กับ Sketch สามารถส่งต่องานดีไซน์สวยๆ ของเราให้กับทีมพัฒนาได้อย่างมีความสุข เพราะ Zeplin นั้นจะระบุตำแหน่งการจัดวางองค์ประกอบทุกอย่างเป็น Pixel และยังสามารถระบุฟอนต์ หรือค่าสีที่เราใช้อย่างละเอียด

Webflow เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่แสนสบาย ที่สามารถให้นักออกแบบทั้งหลายออกแบบ Interface ของตัวเองได้อย่างสะดวก รองรับไปถึง Responsive และยังง่ายต่อการส่งต่อให้กับทีมพัฒนาอีกด้วย

Hype โปรแกรมสำหรับการสร้าง Interactive Website แสนสนุก คล้ายกับ Adobe After -Effect แต่สามารถนำขึ้นไปสู่เว็บไซต์ได้ และยังรองรับ HTML5 

เพราะฉะนั้น UX จะสร้างสิ่งที่มีประโยชน์ให้ ส่วน UI จะสร้างสิ่งที่สวยงาม ดังนั้น ใครที่กำลังเริ่มต้นเริ่มทำเว็บไซต์อยู่ ก็หวังว่าจะได้นำความรู้ตรงจุดนี้ไปปรับใช้ในการทำเว็บไซต์ของตนเองไม่มากก็น้อย

 

UX UI Tools เครื่องมือที่มาแรงที่น่าใช้

แนะนำเครื่องมือสำหรับใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับการทำ UX UI โดยแบ่งหมวดหมู่สำหรับการทำงานด้านต่าง ๆ ไว้ทั้งหมด 8 หมวดหมู่ด้วยกัน

เครื่องมือสำหรับ Brainstorming

หมวดหมู่นี้จะเป็นเครื่องมือเลียนแบบการทำงานของการใช้ Whiteboards, การแปะ ​Post-its หรือ sticky notes, การใช้โน๊ตบุควางแผนและทำงานร่วมกับทีม, ทำ Workshop ช่วยรวมไอเดียกับทีม ผู้ตอบผลสำรวจส่วนใหญ่ยังคงใช้โปรแกรมออกแบบ UI ในการทำ Brainstorm แต่มี Tool ที่มาแรงมากที่สุดในปีนี้ก็คือ Miro

โปรแกรม Miro มียอดผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในปีนี้ ในปี 2020 ที่ผ่านมา เกิดสถานะการณ์ทำให้ต้องทำงาน WFH กันมากขึ้น การ Lockdown ส่งผลให้ต้องทำงานแบบ Remote Miro จึงมีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นจาก 5% เป็น 33% โดยเทียบจากการสำรวจปี 2019 ถึงปี 2020

ผู้ใช้งานตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจในเครื่องมือที่ตนเองใช้งานอยู่ โดยให้คะแนนเฉลี่ยจาก 3.5 จาก 5 คะแนน ยังมีโปรแกรมมาใหม่อย่างWhimsical ได้คะแนนมากถึง 4.5 คะแนน ผู้ใช้งานตอบแบบสอบถาม 129 คนพูดถึง Mural โปรแกรมที่ใช้การทำ User Experience มีคอนเซปต์คล้ายคลึงกันกับ Muro คือ Collaboration tool แบบ Real time

เครื่องมือสำหรับสร้าง User flows

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง flowcharts, process diagrams, user flows, user journeys และอื่นๆ สิ่งที่น่าสนใจของหมวดหมู่นี้ คือเป็นการใช้เครื่องมือระหว่าง Brainstorming + UI Design ไว้ด้วยกัน

ผู้ใช้งานตอบผลสำรวจเกือบ 500 คน มีความพึงพอใจในการใช้งาน Whimsical 4.5 โดยเท่ากับ Overflow.io และ Miro
หมวดหมู่นี้มีเครื่องมือที่ใช้งานน้อยกว่าหมวดหมู่อื่น แต่ก็เป็นด้านที่กำลังเติบโต มี Tool ที่ดี ทำออกมาเพื่อจุดประสงค์ของ diagram คือ Omnigraffle และ Flowmapp

เครื่องมือสำหรับสร้าง UI Design

Figma ได้ทำการออกฟีเจอร์ ที่เรียกว่า “Multiplayer” มีการทำงานพร้อมกันกับ Collaboration บนแพตฟอร์มออนไลน์ โดยสามารถแก้ไขงานได้พร้อมกัน Commentงานได้แบบReal-time ทำให้โปรแกรมออกแบบของ Figma เป็นที่นิยมที่สุดในช่วงนี้

การค่อยๆเติบโตและมีการอัพเดทอย่างสม่ำเสมอของ Figma ในปี 2019 – 2020 การออกแบบเข้ามาช่วยให้การทำงาน work from home ของปี 2020 ดีมากขึ้น

ดีไซน์เนอร์ 66% ใช้ Figma ในการทำ UI design โดยมีการเติบโตขึ้นจากปีที่แล้วจาก 37% ซึ้งถือว่าโตขึ้นมากกว่า 29% ภายในระยะเวลา 1 ปี นอกจาก Figma ยังมี Sketch และ Adobe XD เป็นโปรแกรมที่ติด Top Three จะเห็นได้ว่ากราฟของโปรแกรมอื่นๆลดลงอย่างมาก ผู้ใช้งานตอบสำรวจ 96% มีใช้งานโปรแกรมในหมวดหมู่นี้ในการทำ UI Design และ UX UI Design Tools เป็นที่นิยมสูงสุดในตอนนี้ ได้แก่ Figma

เครื่องมือสำหรับทำ Prototyping

Prototype คือ การทำแบบจำลองของเว็บไซต์และแอพลิเคชัน อีกทั้งการทำ Prototyping จึงเป็นอะไรที่ซับซ้อนอย่างมากในการนำเสนอระบบ ปัจจุบันตัวโปรแกรมที่ใช้ออกแบบ UI มีฟีเจอร์ในการทำ Prototype ที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Figma,Sketch และ Adobe XD แต่เวลาที่มากขึ้นเรื่อยๆ

ทำให้โปรแกรมออกแบบ UI ก็เริ่มอัพเดทฟีเจอร์จนไปทับกับตัวระบบที่ใช้ทำ Prototype อย่างเช่น Invision ทำให้ผู้ใช้งานตอบผลสำรวจส่วนใหญ่นั้น ก็เริ่มย้ายมาใช้โปรแกรม UI ในการออกแบบเพียงแค่ตัวเดียว และใช้โปรแกรมทำ Prototype เป็นตัวเลือกถัดไป

ในปี 2017 ผู้นำด้านการทำ Prototype เช่น InVision มีคะแนนที่สูงกว่าโปรแกรมที่ใช้ทำ HTML แต่ก็ยังมีคะแนนที่ต่ำกว่าโปรแกรม Sketch ไปในปี 2019 แต่ในปัจจุบัน Figma ก็เป็นที่นิยมมากที่สุด ผู้ใช้งานตอบโพลล์ส่วนนึงยังใช้โปรแกรมอย่าง ProtoPie และ Principle เป็น Secondary tool ที่ใช้รองจากโปรแกรมหลัก UI ด้วย

ในส่วนของการใช้งานเป็นโปรแกรมหลัก ในการทำPrototype ด้าน Adobe XD ได้มีคะแนนมากกว่า Invision ผู้ใช้งานตอบผลสำรวจ 42% บอกว่าตอนนี้ใช้เพียงแค่โปรแกรมเดียวเท่านั้นในการทำ Prototyping จากผลสำรวจในปี 2020 User ใช้งานโปรแกรมในการออกแบบน้อยลงจาก 3.5 ถึง 1.6 ดังนั้นแปลว่าในปัจจุบันผู้คนก็เริ่มใช้งานหลาย ๆ โปรแกรมในการทำ Prototype น้อยลง

เครื่องมือสำหรับสร้าง Handoff

Handoff เป็นขั้นตอนของการทำ Design ไปยังทีม Developer ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นการทำงานประสานกันระหว่างทีมออกแบบและทีมอื่น จะต้องพิจารณาในการเลือกเครื่องมือ ในเรื่องของการเข้าถึงไฟล์ access, การอ้างอิง, และการอัพเดทงานดีไซน์ หลังจากมีแก้ไขเสร็จเรียบร้อย

จะมีการอัพเดทกันภายในทีม โปรแกรม Prototype มี Plugin 3rd party ในการเชื่อมโยง เพื่อส่งมอบงานระหว่างโปรแกรมออกแบบ UI Tool ไปยังอีกทีม เพื่อแก้ปัญหาการ Handoff ในปีที่ผ่านมา แต่โปรแกรมออกแบบ UI อย่าง Figma, AdobeXD, Sketch มีอัพเดทฟีเจอร์ Handoff ที่ดีมากขึ้นในตัวเอง มีความน่าสนใจและมีการแข่งขันสูง

ผู้ใช้งานตอบผลสำรวจส่วนใหญ่ ใช้ Figma ในการทำ UI design และใช้ในการส่งมอบงาน Handoff ให้กับทีมอื่นด้วย
ยังมี Zeplin ที่เป็นโปรแกรมมาแรงอยู่ในหมวดหมู่นี้ ด้วยคะแนนความพึงพอใจที่สูงสุดถึง 4.2 และจากการสำรวจดีไซน์เนอร์ใช้งานโปรแกรมนี้ควบคู่กับโปรแกรม Sketch ผลสำรวจนี้ยังไม่ได้รวมคำถามเกี่ยวกับโปรแกรมSketch เข้าไปด้วย เพราะข้อมูลยังไม่สมบูรณ์

เครื่องมือสำหรับสร้าง Design Systems

ในปีที่ผ่านมา Design system เริ่มเข้ามามีบทบาทในการออกแบบมากยิ่งขึ้น ตัวโปรแกรม Native ในการออกแบบ UI เริ่มคำนึงถึงการใช้ Token ในการตั้งชื่อตัวแปรในงานออกแบบ ทำให้มีฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ออกมารองรับในมุมมองของ Design system อย่างมาก Adobe XD เติบโตขึ้นมา 10 เท่า

จากเดิม เคยมีผู้ใช้งานโปรแกรมนี้ในการจัดการ Design system เพียงแค่ 1% ในปี 2019 แต่ปี 2020 นี้ได้เพิ่มขึ้นมาเป็น 11% ยังมี Figma ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน

เนื่องจากได้ปล่อยตัวฟีเจอร์ออกมาเยอะพอสมควร ในการจัดการไฟล์ โดยมีผู้ใช้งานเพิ่มจาก 26% ในปี 2019 เป็น 47% ในปี 2020 โปรแกรมที่ตามมา เป็นTool ที่ได้รับความนิยมจากการทำ​ Survey เช่น Survey การทำ Design system จาก Sparkbox
Storybook โปรแกรมจัดการ UI component ของโค้ดนั้นใช้งานง่ายและเป็นที่ชื่นชอบของบรรดา Developer

เครื่องมือสำหรับทำ User Testing

การทำ User testing ได้เปลี่ยนแปลงไปพอสมควรเมื่อได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ทีมต้องหาทางเชื่อมต่อกับ User และการทำงานด้วยกันเองภายในทีม หรือระหว่างทีมในองค์กร เครื่องมือที่เป็นที่นิยมในตอนนี้ อันดับหนึ่งคือโปรแกรม Video call อย่าง Zoom ผู้ใช้งานตอบผลสำรวจเกือบ 25%

ไม่ใช้งานโปรแกรมอะไรเลยในการทำ User testing เพราะเจอตัวต่อตัว อีก 23%ข้ามไปเลย โปรแกรมที่อยู่ในหมวดอื่นๆ คืออาจจะใช้ Video call หรือการทำ Prototype ใช้วิธีในการอัดหน้าจอ

เครื่องมือสำหรับทำ Versioning

Versioning คือ การเก็บไฟล์, จัดเก็บเวอร์ชั่นของไฟล์ โดยในโปรแกรมออกแบบ UI มี cloud เป็นของตัวเองเพื่อเชื่อมต่อการทำงาน และยังมีอีกหลากหลาย platform ดังนั้นดีไซน์เนอร์จึงกังวลน้อยลงว่าไฟล์จะหายหรือไม่

ถือว่าได้เข้ามาแก้ไขปัญหาตรงส่วนนี้ได้ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน และในปัจจุบันไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเซฟไฟล์ทับกัน ไฟล์หาย หรือไฟล์ไหนเป็นไฟล์สุดท้าย version final เพราะมีโปรแกรมที่ช่วยเข้ามาแบ่งไฟล์ให้เราดึงไฟล์มาใช้ย้อนหลังได้อย่างยอดเยี่ยม 

โปรแกรมที่ทำงานด้วยระบบ Git ยังเป็นที่ชื่นชอบอยู่ โดยวัดจากคะแนนความถึงพอใจที่ได้ไปสูงสุดถึง 4.0 คะแนน อีกทั้ง Figma แก้ปัญหา Versioning ได้ดีมาก พร้อมทั้งเก็บไฟล์ไว้บนออนไลน์ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าไฟล์จะทับกันและหายไปหากตั้งชื่อซ้ำกัน ยังมี Abstract ที่มียอดผู้ใช้งานเยอะ

เพราะเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย รวมไปถึงการสร้าง Branch ที่สามารถมองเห็นได้ว่าทีมกำลังทำงานไฟล์ไหนอยู่ พร้อมทั้งระบบ Merge ทำงานอยู่บนพื้นฐานของ Git จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการทำงานชนบนไฟล์เดียวกันได้

ผลสำรวจเทรนด์ UX UI TOOLS ทั้งหมด

อันดับหนึ่งคือโปรแกรม Figma โดยปีนี้มีคนจำนวนมากอยากย้ายไปใช้ Figma ในปี 2021 ดูจากการตอบผลสำรวจ ดีไซน์เนอร์หลายคนอยากลองไปเรียนโปรแกรมทำ 3 มิติ อย่าง Blender Cinema และ 4d ยังมีส่วน Tool ที่ใช้ในการจดโน๊ต ทำ shotlist อย่างโปรแกรม Notion เข้ามาติดอันดับอีกด้วย สามารถใช้ทำงานกับทีมและดูว่าจะมาแรงมากในการแก้ไขปัญหาให้กับดีไซน์เนอร์ อีกทั้งยังมีหลายโปรแกรมที่จัดอยู่ในกลุ่มอื่น ๆ

 

ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้าน User Experience User Interface

ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านร่วมแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป ดังเช่นบุคคลที่มีความสามารถจากวงการเทคโนโลยี ซึ่งพวกเราได้แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป ดังนี้

1. User Experience มุ่งเน้นไปที่การใช้งานของผู้ใช้เพื่อแก้ปัญหา ส่วน User Interface มุ่งเน้นที่หน้าตาและการทำงานของผลิตภัณฑ์ Ken Norton, Google Ventures

Ken Norton – Partner บริษัท Google Ventures อดีตผู้จัดการผลิตภัณฑ์ที่ Google

“เริ่มต้นด้วยปัญหาที่เราต้องการแก้ การออกแบบ User Experience มุ่งเน้นไปที่ทุกอย่างที่ส่งผลต่อการใช้งานของผู้ใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งด้านบวกหรือด้านลบ ทั้งบนหน้าจอและด้านนอก ส่วนการออกแบบ User Interface มุ่งเน้นที่จะทำให้หน้าตาของผลิตภัณฑ์และการทำงานออกมาอย่างไร User interface คือชิ้นส่วนเดียวของการเดินทางนั้น ผมชอบความคล้ายคลึงกันของร้านอาหารที่ผมเคยได้ยินคนอื่นกล่าวว่า User Interface คือโต๊ะ เก้าอี้ แผ่นแก้วและช้อนส้อม User Experience คือทุกสิ่งทุกอย่างจากอาหาร การบริการ ที่จอดรถ แสงและดนตรี”

2. นักออกแบบ UX สนใจเกี่ยวกับแนวคิดด้านกระบวนการออกแบบ โดยผู้ออกแบบ UI จะมุ่งเน้นองค์ประกอบที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

Andy Budd – ผู้ร่วมก่อตั้ง Clear left ผู้ก่อตั้ง UX London

“ตรรกะทั่วไปจะแนะนำว่าถ้าคุณออกแบบ UI และบุคคลที่ได้สัมผัสสินค้านั้นผ่านทาง UI จึงทำให้คุณเป็น User Experience Designer อย่างไรก็ตามนี่ก็หมายความว่าการออกแบบบ้านของคุณเองทำให้คุณเป็นสถาปนิกและการซ่อมท่อประปาทำให้คุณเป็นช่างประปา
บ่อยครั้งที่คำเหล่านี้ใช้ในการอธิบายถึงสาขานั้น แต่ตีความได้ผิดเพี้ยนไปจากความหมายดั้งเดิม ตัวอย่างเช่นสถาปนิกแปลตามความหมายจริงว่า “หัวหน้าช่างก่ออิฐ” และช่างประปาหมายความว่า “หัวหน้าพนักงาน” ชัดเจนแล้วว่าสองคำนี้ไม่ได้สื่อหรืออธิบายว่าอาชีพนั้นทำอะไรอีกต่อไป
ในบริบทระดับมืออาชีพ “User Experience Designer” มีความหมายและชุดทักษะที่เฉพาะเจาะจงขึ้นอยู่กับชุมชนที่ปฏิบัติกันมานานกว่า 20 ปี ในโลกนี้ผู้ออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Designer) มีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวคิดกระบวนการออกแบบโดยผู้ออกแบบ UI จะมุ่งเน้นองค์ประกอบที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
Jason Mesut อธิบายถึงความแตกต่าง (และซ้อนทับกัน) ระหว่าง User Experience และ User Interface ในรูปแบบ “เพชรคู่” ในรูปแบบนี้นักออกแบบ UX มีความเชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ การวิจัย สถาปัตยกรรมข้อมูลและการออกแบบปฏิสัมพันธ์
นักออกแบบ UI (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อให้ทันสมัยเป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ดิจิทัลใน Silicon Valley) ยังมีทักษะในการออกแบบการโต้ตอบ อย่างไรก็ตามการมุ่งเน้นไปส่วนต่างๆ เช่นการออกแบบข้อมูล การออกแบบการเคลื่อนไหวและแบรนด์
ในขณะที่บางคนอ้างว่ามีความเชี่ยวชาญเชิงลึกในทุกส่วนเหล่านี้ ซึ่งหาได้ค่อนข้างหายาก อย่างไรก็ตามหากคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกสิ่ง คุณอาจไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใด ๆเลย “

3. ไม่มีความแตกต่างระหว่างการออกแบบ User Experience และ User Interface เนื่องจากเป็นสองสิ่งที่ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้

Craig Morrison – หัวหน้าผลิตภัณฑ์ที่ Record Setter ผู้ก่อตั้ง Usability Hour

“ผมได้ยินคำถามนี้อยู่ตลอดเวลาและผมได้ตอบคำถามนี้หลายครั้ง ในที่สุดผมได้ข้อสรุปดังนี้ …
ไม่มีความแตกต่างระหว่างการออกแบบ UX และ UI เนื่องจากเป็นสองสิ่งที่ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้
ตัวอย่างเช่น คำถามประเภท “อะไรคือความแตกต่างระหว่างสีแดงและสารเคมีสีที่ถูกสร้างขึ้น” ซึ่งไม่มีความแตกต่างกัน สีแดงประกอบด้วยสารเคมีที่แตกต่างกันทุกประเภทเมื่อรวมกันก็เป็นสีแดง
เช่นเดียวกับ User experience ที่สร้างขึ้นจากพวงขององค์ประกอบที่แตกต่างกัน ซึ่งการออกแบบ User interface เป็นเพียงส่วนหนึ่ง เมื่อรวมเข้าด้วยกันทำให้เกิดประสบการณ์การใช้งาน
ต่อไปนี้เป็นคำถามอื่น ๆ เพื่อแสดงมุมมองของผม:

  • ความแตกต่างระหว่าง MacBook และรูปร่างของคีย์บอร์ดคืออะไร
  • ความแตกต่างระหว่างชาและวัสดุประเภทใดที่ทำจากถุงชา
  • ความแตกต่างระหว่างรถกับสีที่ทารถคืออะไร

ถ้าเรากำลังพูดถึงเค้กแสนอร่อย (และทำไมเราถึงไม่พูดถึงมันล่ะ) UI คือไอซิ่ง จาน รสชาติ  ช้อนส้อมและการนำเสนอ ส่วน UX เป็นเหตุผลที่เราให้บริการเค้กและทำไมคนถึงอยากกินเค้กมากกว่าแฮมเบอร์เกอร์

4. UI เป็นสะพานที่ทำให้เราไปถึงที่ที่เราต้องการไป UX คือความรู้สึกที่เราได้รับเมื่อเราไปถึง

Jason Ogle – ผู้จัดรายการและผู้ผลิต User Defenders podcast นักออกแบบที่ NCM

“ผมคิดว่าหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องคำนึงถึงในโลกแห่งความคิดสร้างสรรค์ของเราที่เรากำลังโบยบินคือ User Interface ไม่ใช่ชุดของปุ่มที่อยู่บนมุมทั้งสี่ของหน้าจอและ User Experience ก็ไม่ได้เป็นแค่ต้นแบบบนหน้าจอเพียงเพื่อการเพิ่ม Conversion บนหน้า Landing Page เท่านั้น
ขณะนี้ยังสามารถพิจารณาเสียงและเจตนาของเราที่ขับเคลื่อนโดยสิ่งที่ระบบคิดว่าเรากำลังพูดหรือต้องการในบริบทใดก็ตาม
User Interface เป็นสะพานที่ทำให้เราไปอีกด้านหนึ่งของที่ที่เราต้องการจะไป
User Experience คือความรู้สึกที่เราได้รับเมื่อเราไปถึงที่นั่น เมื่อสะพานถูกสร้างขึ้นอย่างดีหรือดิ่งสู่ความตายของเรา (พูดถึง User Experience ที่แย่!)
มันยังเป็นไปได้ที่จะมีประสบการณ์ของผู้ใช้ที่ดีโดยไม่ต้องมี user interface ในความเป็นจริงนั้น ถ้ามันดีจริงๆบางทีผู้ใช้ของคุณอาจไม่ทันสังเกตว่ามีมันอยู่ที่นั่น (มีน็อตกี่ตัวที่คุณสังเกตเห็นในขณะที่กำลังข้ามสะพาน)
อย่าลืมว่าเรามักจะสร้าง User Experience อยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นที่หลังแป้นพิมพ์ ในร้านขายของชำ ในที่ทำงานของเราหรือบนทางด่วน
เพื่อสรุปเรื่องนี้ตามที่ผมพูดเสมอกับผู้ฟังที่น่ารักในช่วงท้ายของทุกตอน User Defenders podcast  : จงต่อสู้ต่อไปในการสร้าง User Experience ที่ดีสำหรับคนอื่น!
ไม่ว่าจะต้องใช้ User Interface หรือไม่ “

 5. UI ให้ความสำคัญไปที่ผลิตภัณฑ์ ชุดของภาพรวมในช่วงเวลาหนึ่งUX มุ่งเน้นไปที่ผู้ใช้และการใช้งานผลิตภัณฑ์

Scott Jenson – นักวางกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ที่ Google

“ผมไม่ได้สนใจมากนักกับเรื่องความแตกต่างนี้ เนื่องจากพวกมันมักจะใช้แทนกันได้ อย่างไรก็ตาม ผมเห็น UI ให้ความสำคัญไปที่ผลิตภัณฑ์ ชุดของภาพรวมในช่วงเวลาหนึ่ง
UX มุ่งเน้นไปที่ผู้ใช้และใช้งานผลิตภัณฑ์ UI มีแนวโน้มที่จะเป็นข้อมูลเฉพาะของหน้าจอโดยมุ่งเน้นที่ป้ายชื่อสไตล์ภาพ แนวทางและโครงสร้าง
UX คือเส้นทางการใช้งานผลิตภัณฑ์ หลีกเลี่ยงหน้าจอและสื่อถึงการใช้งานผู้ใช้ และแรงจูงใจเพื่อหาเหตุผลว่าทำไมบางสิ่งใน UI จึงสำคัญ ทำไมบางสิ่งถูกละเลยไป UI จัดการกับข้อจำกัดต่างๆ แต่ UX ท้าทายมัน”

 6. UX ครอบคลุมทุกประสบการณ์ที่บุคคลมีกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ ในขณะที่ UI มีความเฉพาะเจาะจงกับวิธีการที่ผู้คนโต้ตอบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

Chinwe Obi – นักวิจัย User Experience ที่ User Testing

User experience (UX) เป็นปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์ที่ผู้ใช้มีกับผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกของ UX สิ่งนี้อาจรวมถึงการทำวิจัยเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์เชิงบวกและเชิงลบและนำการเรียนรู้เหล่านั้นไปปรับปรุงสิ่งที่ส่งผลดีต่อประสบการณ์ของผู้ใช้
ลองนึกถึงการสั่งอาหารออนไลน์สำหรับการจัดส่งถึงที่ UX ประกอบด้วยปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้ตั้งแต่การสั่งซื้อในเว็บไซต์ของบริษัท ประสบการณ์ในการเลือกซื้อของบนรายการและความพึงพอใจต่ออาหารที่สั่งซื้อ
User interface (UI) คือส่วนเฉพาะที่ผู้ใช้โต้ตอบด้วย ตัวอย่างเช่น UI สามารถจัดการกับแนวคิดดั้งเดิมเช่นองค์ประกอบของการออกแบบภาพ เช่น สีและการออกแบบอักษร นอกจากนี้ยังสามารถดูฟังก์ชันการทำงานของหน้าจอหรือระบบพิเศษอื่นๆได้ เช่น ระบบใช้งานเสียงเป็นหลัก
จากตัวอย่างการสั่งซื้ออาหารทางออนไลน์ UI จะมุ่งเน้นไปที่การออกแบบภาพบนหน้าจอที่ผู้ใช้โต้ตอบด้วย เช่น สีของปุ่มคำสั่งซื้อและตำแหน่งที่จะวางลงบนหน้า นอกจากนี้ยังสามารถรวมอินเทอร์เฟซใด ๆ ก็ตามที่ผู้ใช้อาจติดต่อกับในร้านค้าได้อีกด้วย “

 

อยากทำงานสาย UX UI ต้องมีอะไรใน Portfolio

Problem 

ปัญหาที่เราต้องการจะแก้ และ Hypothesis สมมุติฐานของงานที่เรามีอยู่

Role 

เล่าเรื่องงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และวิธีที่เราใช้งานร่วมกับทีม

Proposed solutions 

วิธีการแก้ไขปัญหา วิธีการแก้ไขที่เราเสนอมีอะไรบ้าง

Solve the problems

เล่าเรื่องการแก้ไขปัญหา เราแก้ปัญหาได้อย่างไร มีอะไรดีขึ้นบ้างความท้าทายของโปรเจคนี้

Business & Users

แก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจ แก้ไขปัญหาให้กับ User ได้อย่างไร

What you learned 

สิ่งที่เราได้จากโปรเจคนี้

 

ทำความรู้จักอาชีพ UX UI Designer และทักษะที่จำเป็น

ปัจจุบันเราอยู่ในโลกที่การพัฒนาเทคโนโลยี พฤติกรรมของผู้คน หรือแม้กระทั่งความต้องการ และปัญหาที่แต่ละคนเจอนั้นแตกต่างกัน การพัฒนาสินค้าบริการหรือเทคโนโลยีจึงจำเป็นที่จะต้องนำมาผสมผสานกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่มีค่าพอที่ผู้ใช้ หรือลูกค้าจะตัดสินใจซื้อ หากถ้าจะขายของเหมือนๆเดิม ก็คงจะอยู่ไม่ได้ในโลกนี้แล้ว

บริษัทเก่าๆ ก็ต้องปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ทุกธุรกิจปรับตัวและเปลี่ยนแปลง จะเห็นได้จากบริษัทใหม่ ที่เกิดจากการที่อยากแก้ไขปัญหา และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ หรือลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น Startup และธุรกิจขนาดเล็กต่าง ๆ ที่สามารถก้าวขึ้นไปสู่ธุรกิจที่เป็นตัวเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้คนได้ เช่น Facebook, Line, Grab หรือ FoodPanda 

ปัจจุบัน อาชีพที่มาแรงกับเป็นสายงานไอทีเป็นส่วนใหญ่ เช่น นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Science) นักคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักออกแบบ (Designer)

อ้างอิงจากข้อมูลเว็บไซต์ Nowasu จาก 8 อันดับ 3 อาชีพเลยที่เป็น สายงานไอที โดยเฉพาะอาชีพที่กำลังมาแรงในสายงานออกแบบ คือ นักออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) และนักออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface)หรือที่เรียกกันว่า “UX/UI”

หน้าที่และทักษะที่จำเป็นของการทำ UX Design

หน้าที่หลัก ๆ ของ UX Designer

จะทำงานเกี่ยวกับการค้นคว้าหาข้อมูล ทำความเข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาของผู้ใช้งาน เฟ้นหาไอเดียที่จะสร้างสรรค์ ออกแบบสินค้าและบริการให้ตรงความต้องการผู้ใช้มากที่สุด ซึ่งหน้าที่หลัก ๆ ของ UX Design มีดังนี้ คือ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้งาน รวมถึงทำการค้นคว้า ออกแบบ ทดสอบ และประเมินผลสิ่งต่าง ๆ

ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน และทำการออกแบบต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์กับการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) เช่น Design Thinking, Design Sprint และ Lean UX กล่าวคือ

  1. รวบรวม ค้นคว้า ออกแบบ ทดสอบ และประเมินผล สินค้า บริการ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน
  2. ใช้งานหลักการออกแบบต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์กับการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) เช่น Design Thinking, Design Sprint และ Lean UX
  3. บริหารจัดการงาน และประเมินเวลาในการทำงานได้ดี

ทักษะที่จำเป็น

UX Design ควรมีทักษะทั้งด้าน Hard Skill และ Soft Skill โดยที่ทักษะด้าน Hard Skill ที่ต้องมี ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา Customer Journey รวมไปถึง User Flow ร่างภาพต้นแบบ (Wireframe) การสร้างต้นแบบ (Prototype) และทดสอบกับผู้ใช้ (Testing) มีความรู้ความสามารถหลักในการออกแบบต่าง ๆ
เช่น รู้องค์ประกอบศิลป์

การออกแบบ User Interface สำหรับเว็บไซต์ และโทรศัพท์มือถือ มีความเข้าใจการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ และปัญหาที่แท้จริงขณะที่ทักษะ Soft Skill ที่พึงมี คือ การสื่อสารสามารถประสานงานกับทีมอื่น ๆ ได้ สามารถอธิบายงานที่ออกแบบมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ พร้อมเปิดใจรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และปรับตัวอยู่เสมอ

สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้ดี มีความละเอียด รอบคอบ บริหารเวลาได้เป็นอย่างดี ทำงานเป็นทีมเวิร์คได้ หากเป็นหัวหน้าทีม ควรมีความเป็นผู้นำ มีความยืดหยุ่นในการทำงาน และรับฟังความคิดเห็นลูกทีมได้ และมีการตัดสินใจที่เด็ดขาด กล่าวคือ

  1. พัฒนา เส้นทางการเดินทางของลูกค้า (Customer Journey) การใช้งานของผู้ใช้ (User Flow) ร่างภาพต้นแบบ (Wireframe) สร้างต้นแบบ (Prototype) และทดสอบกับผู้ใช้ (Testing)
  2. มีความรู้ในหลักการออกแบบต่าง ๆ เช่น องค์ประกอบศิลป์ (Composition), การออกแบบ User Interface สำหรับเว็บ และมือถือ
  3. เข้าใจเป้าหมายของการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) ได้แก่ ธุรกิจหรือองค์กรได้รับประโยชน์ และผู้ใช้หรือลูกค้าใช้งานได้ง่าย ตอบโจทย์ความต้องการ และปัญหาจริง ๆ
  4. สื่อสารประสานงานกับทีมอื่น ๆ
  5. เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และปรับตัวอยู่เสมอ

 

หน้าที่และทักษะที่จำเป็นของการทำ UI Design

หน้าที่หลัก ๆ ของ UI Designer

เป็นการทำงานเกี่ยวกับการออกแบบเป็นหลัก เช่น การออกแบบสินค้าและบริการ ออกแบบแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ โดยนำความต้องการของผู้ใช้งานที่ได้ถูกวิเคราะห์จาก User Experience มาออกแบบต่ออีกทีหนึ่งนั่นเอง

หน้าที่หลัก ๆ ได้แก่ การออกแบบ Wireframe การสร้าง Mockup หรือต้นแบบ สามารถใช้งานโปรแกรม หรือเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานได้ พร้อมกันนี้ต้องสามารถนำความต้องการของลูกค้ามาออกแบบได้ ซึ่ง UI Design ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมเมอร์ และฝ่าย Production เป็นหลัก กล่าวคือ

  1. ออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานโดยสร้างเป็นโครงร่าง (Wireframe) ม็อคอัพ (Mockup) หรือต้นแบบ (Prototype)
  2. ใช้งานโปรแกรม หรือเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (User Interface) ได้หลากหลาย อาจจะต้องเรียนรู้เครื่องมือที่ใช้คุยงาน ประสานงานกันในทีม และระหว่างทีมด้วย
  3. แปลงเอาความต้องการของลูกค้ามาเปลี่ยนแปลงเป็นงานออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (User Interface)
  4. ประสานงานกับนักพัฒนาโปรแกรม (Programmer) ฝ่ายผลิต (Production) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออธิบายการออกแบบ และเตรียมช่วยเหลือในแต่ะขั้นตอน

ทักษะที่จำเป็น

ต้องมีทักษะทั้ง Hard Skill และ Soft Skill เช่นเดียวกับงาน UX Design ทักษะสำคัญ สามารถออกแบบ User Interface ได้ในหลายแพลตฟอร์ม เก่งเรื่องการใช้งานโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ สร้าง User Interface Prototype และที่สำคัญ คือ ต้องมีความรู้เรื่ององค์ประกอบศิลป์ รวมถึงการออกแบบ User Interface สำหรับเว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือ การออกแบบ User Interface ดีไซน์ต้องมีความสวยงาม เข้าใจได้ง่าย ต้องหมั่นเรียนรู้เทรนด์ใหม่ ๆ ตลอดเวลา

ส่วนทักษะด้าน Soft Skill ไม่ต่างจาก UX Design นัก คือ ต้องสามารถสื่อสารได้ ประสานงานดี อธิบายงานที่ตัวเองสร้างสรรค์ขึ้นมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ และพร้อมปรับตัวอยู่เสมอ กล่าวคือ

  1. ออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (User Interface) ได้หลากหลายแพลตฟอร์ม platform
  2. ใช้งานโปรแกรม หรือเครื่องมือได้หลากหลาย
  3. สร้างต้นแบบจำลองส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (User Interface Prototype)
  4. มีความรู้ในหลักการออกแบบต่าง ๆ เช่น องค์ประกอบศิลป์ (Composition), การออกแบบ UI สำหรับเว็บ และมือถือ

 

ทักษะที่จำเป็น สามารถดูได้จาก Video นี้ได้เลยครับ

 

ขั้นตอนการทำงานระหว่าง UX Designer & UI Designer แตกต่างกันอย่างไร

  1. เริ่มต้นที่ UX Designer จะต้องทำการค้นหาปัญหา เก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา 
  2. เรียบเรียงข้อมูลออกมาเป็น Wireframe สำหรับทำการทดสอบการใช้งานของผู้ใช้ 
  3. ส่งงานต่อให้กับ UI Designer นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ แล้วตีโจทย์ที่ได้ออกมาเป็นภาพ 
  4. UI Designer ต้องคำนึงถึง Mood&Tone ของ Product เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปในทางเดียว
  5. ส่งต่องานให้กับทีมพัฒนาระบบหลังบ้านในการสร้างระบบ

ผู้ประกอบการสามารถใช้ UX UI เพื่อพัฒนาธุรกิจได้อย่างไร

นักพัฒนา UX/UI ต้องเข้าใจถึง Pain Point ของลูกค้าก่อนที่จะไปพัฒนาระบบ การสัมภาษณ์ลูกค้าอาจไม่เพียงพอที่จะพัฒนาระบบได้อย่างเต็มที่ โดยผู้พัฒนาต้องกลายเป็นผู้บริโภคเองก่อน เพื่อให้เข้าถึงความต้องการของผู้บริโภค และสามารถนำไปพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคต้องสร้างคุณค่าไปในตัวด้วย คือการมอบประโยชน์ให้กับลูกค้าว่าลูกค้าจะได้อะไรจากการใช้แพลตฟอร์มของเรา หรือสื่อสารให้เข้าถึงว่าเราสร้างมาเพื่อส่วนรวม และผู้ที่ใช้บริการรู้สึกว่ามีคุณค่าทุกครั้งเมื่อได้ใช้

การดำเนินการต้องมีการวางแผนงานที่ดี เนื่องจากการทำงานควรจะประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน และประหยัดเงิน เพราะการเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์อาจทำให้คู่แข่งแซงหน้าเราไปได้ และการวางแผนในการทำงานของการพัฒนา UX/UI จำเป็นต้องทำให้มีความมั่นคงและยั่งยืน การพัฒนาต้องตีค่าให้มากกว่าตัวเงินแต่สร้างให้เป็นการเข้าใจถึงพฤติกรรมผู้บริโภคให้มากขึ้น เพื่อนำมาพัฒนาระบบได้ต่อไป

การสร้างแพลตฟอร์มให้ตรงใจผู้บริโภคไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการสร้างแพลตฟอร์มให้เป็นที่นิยม และมีคุณค่าพร้อมทั้งสร้างรายได้นั้น ต้องมีแนวคิดแบบคนขายก็ได้คนใช้ก็ได้ เนื่องจากหลายแพลตฟอร์มอาจจะมีฟังก์ชันและการใช้งานที่คล้ายกัน แต่ผู้พัฒนาต้องมองเห็นสิ่งที่แตกต่าง เพื่อนำมาพัฒนาให้ยกระดับแพลตฟอร์มของตัวเองให้ดีขึ้นเพื่อพัฒนาสังคมไปในตัว

ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น แต่ SMEs ก็ต้องทำความเข้าใจกับ UX/UI เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจในโลกออนไลน์ต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจนันยางที่เตรียมตัวก้าวเข้าสู่โลก Metaverse

การทำธุรกิจที่เกี่ยวกับเว็ปไซต์ แอปพลิเคชัน ควรเริ่มออกแบบให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มร่าง Wireframe (โครงร่าง) ออกแบบให้เห็นภาพรวมอย่างชัดเจน ว่าจัดวางองค์ประกอบแบบไหน จะออกมาเป็นอย่างไร ผู้ใช้เข้ามาที่เว็ปไซต์ หรือแอปพลิเคชัน ควรให้โฟกัสที่ตรงไหน
เมื่อคลิกแล้วจะพาไปที่หน้าไหนบ้าง หลังจากที่มีโครง Wireframe แล้วก็จะเป็นหน้าที่ของฝั่ง UI Designer ที่ต้องออกแบบให้สวยงามหาก UX/UI ของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันนั้นไม่ดี ผู้ใช้ที่เข้ามาได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี ผู้ใช้จะไม่เลือกเข้าเว็ปไซต์หรือแอปพลิเคชัน โอกาสในการสร้าง conversionให้กับธุรกิจนั้นจะหายไปด้วย

การทำ UX UI ต่างกันกับการทำ Marketing ตรงไหน

“Attitude กับ พฤติกรรม นี่คือความต่าง”

Marketing อยากรู้ว่าคนคิดยังไง ชอบหรือไม่ชอบ แต่ UX อยากรู้ว่าเขาทำอะไร ทำไปทำไม

แต่การทำงานทั้ง UX และ Marketing ทำงานแยกกันไม่ได้ ต้องช่วยกัน คนหนึ่งชี้เป้าหมายอีกคนสร้างวิธีการ

แล้วทำ UX UI ไปทำไม

สมัยนี้มันยังมีคนต้องการสินค้าเฉย ๆ อยู่หรือเปล่า เช่น ลูกอมรสมิ้นต์ 2 ยี่ห้อให้ความเย็นเหมือนกันหรือไม่

จริง ๆ คือมันไม่ต่างเลย มันก็เย็นเหมือนกัน เราทำอะไรได้คนอื่นเขาก็ทำได้ แต่ที่ต่างกันจริง ๆ คือ เรื่องประสบการณ์การใช้งานนี่คือจุดขายของสินค้าต่าง ๆ ทุกแขนงในปัจจุบัน ถ้าเราอยากขายของได้ ขายของดี ลูกค้าติดใจ เราต้องรู้จักลูกค้าให้มากขึ้น และยิ่งถ้าเราอยากจะชนะคนอื่นในตลาดเรายิ่งต้องทำ UX

โลกของเราเปิดกว้างจากการที่ได้พบ ได้เจอ ได้พูดคุยกับผู้คนมากมายที่มีทัศนคติ วิธีคิด และความรู้ต่าง ๆ ที่ดี การพบเจอกับพวกเขาเหล่านี้ทำให้เรายิ่งได้พัฒนาตัวเองมากขึ้น การอ่านก็เช่นกัน โลกหมุนไปเร็วขึ้นทุกวัน มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นมากมายที่เราต้องตามให้ทัน อยากให้สนุกกับมัน สนุกกับการใช้ชีวิต

สรุปว่า

UX = ประสบการณ์ของผู้ใช้
UI = ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้

User Experience หรือ UX เป็นเรื่องสำคัญในการออกแบบในทุก ๆ ด้าน อันจะประกอบไปด้วยมิติต่างๆ ทั้ง Visual Design, Usability, Interaction Design และ Accessibility เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานของเราได้อย่างเข้าถึงได้ มีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน กับระบบ บริการ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีการออกแบบที่ให้ความสำคัญของ User Experience Design (UXD)

เช่นเดียวกับ User Interface ลองคิดสภาพว่า มือถือ iPhone ของเรา ไม่มีหน้าตาสวย ๆ ไว้ให้เราใช้ แล้วทุกอย่างในหน้าจอเป็นสีขาวดำทั้งหมด คุณยังจะอยากใช้มันต่อหรือไม่ ไม่ว่าจะออกแบบ User Experience มาดีแค่ไหน features จะยอดเยี่ยมแค่ไหน มันก็อาจจะไปไม่สุดถ้าหากว่าไม่มี User Interface ที่ดี และมันอาจจะถึงขั้นไม่มีใครอยากจะใช้งานมันเลยด้วย

ทุกวันนี้เทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และบทบาทของผู้ออกแบบ UX/UI ก็มีมากขึ้น ระบบ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนถูกพัฒนาขึ้นมา ฉะนั้นการที่มันจะถูกใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพก็คือการออกแบบที่เข้าใจง่าย และเข้าถึงง่ายนั่นเอง

Comparing UX UI

Reference: ภาพจาก tsh.io

ผู้ประกอบการท่านใด ต้องการเดินบนเส้นทางธุรกิจออนไลน์ ปรึกษา Exvention ได้เลยครับ
นอกจากนี้เรายัง รับทำเว็บไซต์ อีกด้วยท่านใดสนใจติดต่อเราได้เลยครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก

UI คืออะไร? สำคัญยังไง?

เข้าใจ UX/UI พัฒนาธุรกิจบน Digital Platform

UX คืออะไร? ทำไปทำไม? ต่างจาก Marketing อย่างไร?

ทำความรู้จัก UX/UI คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?

UX Design คืออะไร

UX/UI Design คืออะไร ทักษะอะไรที่คนทำงานนี้ควรต้องมี

UI vs. UX: อะไรคือความแตกต่างระหว่าง user interface และ user experience