Blockchain

Web 3.0 เกี่ยวข้องกับ Blockchain อย่างไร?

อินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาอยู่เสมอ โดยเราควรจะเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตที่เราใช้อยู่จะกลายเป็นจุดจบของ Web 2.0 และจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นสู่ Web 3.0 ที่ถูกกระตุ้นโดยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Blockchain

 

 

 

Web 3.0 คืออะไร?

Web 3.0 คือ แนวคิดการใช้งานเว็บไซต์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้กับผู้ใช้งานถือสิทธิความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ เดิมทีเรียกว่า Semantic Web ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสร้างสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ทั้งพื้นที่จัดเก็บข้อมูล โครงสร้างฐานข้อมูล และกฎที่ใช้จัดการข้อมูล

ทั้งนี้ แนวคิด Web 3.0 แบ่งออกเป็น 2 มุมมอง ได้แก่ มุมมองในอดีต และมุมมองปัจจุบัน โดยแนวคิด Web 3.0 ในมุมมองอดีตอ้างอิงจาก Tim Berners-Lee ผู้คิดค้น World Wide Web มุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบ 3 อย่าง ได้แก่ Autonomous, Intelligent และ Open Internet 

ส่วนแนวคิด Web 3.0 ในมุมมองปัจจุบันอ้างอิงจากข้อมูลของ Dr. Gavid Wood อดีต CTO ของ Ethereum และผู้ก่อตั้ง Web 3.0 Foundation ระบุว่า Web 3.0 ว่าด้วยอินเทอร์เน็ตไร้เซิร์ฟเวอร์และกระจายศูนย์ ผู้ใช้งานทุกคนควบคุมข้อมูล ตลอดจนตัวตนในโลกดิจิทัลได้ด้วยตัวเอง 

 

ข้อดีของ Web 3.0

  1. ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูล หรือบริการต่างๆ ได้อย่างอิสระ ไม่ต้องมีตัวกลางมาควบคุม และการทำ Censorship การเข้าถึงมูลและบริการต่างๆ เช่น บริการทางการเงินที่บางประเทศนั้นไม่อนุญาตให้มีการเปิดบัญชีธนาคารเป็นของตัวเองได้ เป็นต้น
  2. มีความปลอดภัยและสิทธิความเป็นเจ้าของข้อมูล ซึ่ง Web 3.0 มีการใช้งานเทคโนโลยีเบื้องหลังของคริปโตฯ ต่างๆ เช่น Bitcoin, Ethereum, Polkadot เป็นต้น ทำให้ระบบการเก็บรักษาข้อมูลมีความปลอดภัย ตรวจสอบได้
  3. Web 3.0 ไร้ตัวกลาง (Decentralized) มีการกระจายอำนาจผู้ใช้งาน โดยไม่ต้องติดต่อสื่อสารหากันผ่านตัวกลาง หรือเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ (เช่น สามารถติดต่อหากันได้โดยไม่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ของเฟซบุ๊กหรือกูเกิลเข้ามาเกี่ยวข้อง)
  4. ผู้ใช้งาน Web 3.0 สามารถมีส่วนร่วมในการเข้ามาพัฒนาโค้ดของเว็บไซต์ หรือแก้บั๊กต่างๆ ร่วมกันจนสามารถใช้งานได้

 

ความสำคัญของ Blockchain ใน Web 3.0

     อินเทอร์เน็ตที่คนใช้ในปัจจุบันเป็นเหมือนคอมพิวเตอร์แบบ stand – alone ข้อมูลทั้งหมดบนอินเทอร์เน็ตอยู่ภายใต้การเก็บและการจัดการแบบรวมศูนย์ผ่าน Server ของสถาบันที่เชื่อถือได้ โดยเฉพาะ Firewall ที่มีความจำเป็นสำหรับการรักษาข้อมูลบน Server เหล่านี้ และผู้ดูแลระบบต้องจัดการกับข้อเสียของการจัดการ Server และ Firewall

     วิกฤตการเงินโลกในปีพ.ศ. 2551 แสดงให้เห็นถึงรอยแยกในเทคโนโลยีแบบ Centralized Structure จึงเป็นการเปิดโอกาสให้กับเทคโนโลยีแบบ Decentralized Structure ของ Web 3.0 ที่มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากอำนาจและการควบคุมจากส่วนกลาง รวมถึงความไว้วางใจ ความโปร่งใส และความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน

    ยกตัวอย่าง เช่น Siri ใน Apple และ Alexa ใน Amazon แสดงให้เห็นว่า Machine Learning สามารถพัฒนาบริการอินเทอร์เน็ตแบบใหม่ได้อย่างไร นอกเหนือจากสัญญาณของการแนะนำการเรียนรู้ของเครื่องและการเชื่อมต่อเครื่องผ่าน IoT (Internet of Things) แล้ว Web 3.0 จะทำงานบนโปรโตคอลแบบ Decentralized Structure ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหาเส้นทางการบรรจบกันของ Blockchain ใน Web 3.0 ในเรื่องของความสามารถในการทำงานร่วมกันกับระบบอัตโนมัติ โดยใช้ประโยชน์จาก Smart Contract และการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล P2P ดังนั้นจึงค่อนข้างชัดเจนว่า บล็อกเชน จะเป็นแรงผลักดันสำคัญสำหรับอินเทอร์เน็ตรุ่นต่อไปและมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิธีการในการจัดเก็บข้อมูล หรือจะเรียกได้ว่า บล็อกเชน เป็นรากฐานสำหรับ Web 3.0 อย่างแท้จริง

     อีกหนึ่งตัวอย่างของ Web 3.0 ที่มีความโดดเด่น ซึ่งมีฟังก์ชันการทำงานที่ชัดเจนของ บล็อกเชน คือ Follow องค์กรอิสระที่มีการกระจายอำนาจ ได้นำเสนอโปรโตคอลทางสังคมแบบ Decentralized ที่ทันสมัยสำหรับบริการ Web ในรุ่นต่อๆไป โปรโตคอลโซเชียลที่ใช้ Blockchain ของ Follow ตั้งใจที่จะให้การควบคุมตัวตนทางสังคมและข้อมูลของผู้ใช้งานอย่างสมบูรณ์ ซึ่งการพัฒนา Web 3.0 ยังมุ่งเน้นไปที่การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมใหม่ ที่จะต้องเป็นไปตามแบบแผนหลักของ บล็อกเชน ซึ่งจะจัดการความจำเป็นในการเป็นตัวกลางที่เชื่อถือได้ควบคู่ไปกับการเปิดใช้งานเครือข่าย เพื่อจดจำการโต้ตอบของผู้ใช้หรือเหตุการณ์ก่อนหน้าโดยรวม ดังนั้น บล็อกเชน จึงเป็นกำลังสำคัญในการเปิดโอกาสทางอินเทอร์เน็ตด้วยการกระจายอำนาจที่ดีขึ้น

     แม้ว่าการใช้ Web 3.0 อย่างแพร่หลายยังคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ที่เรายังมองเห็นจุดเริ่มต้นของความเป็นไปได้ จากสกุลเงินดิจิทัลไปจนถึงอุปกรณ์อัจฉริยะและอินเทอร์เน็ตที่กำลังใช้เทคโนโลยี บล็อกเชน เพื่อพัฒนาไปสู่วิวัฒนาการต่อไปของ Web แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจดูยากและสับสน แต่ก็ไม่ใช่ว่าการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงทางอินเทอร์เน็ตต้องใช้ระยะเวลาและเงินทุนในการพัฒนา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงมักจะค่อยๆเป็นค่อยๆไปและให้เวลากับผู้ใช้งานในการเรียนรู้และปรับตัวกับเทคโนโลยีใหม่ๆต่อไป


สรุป

Web 3.0 เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขั้นต่อไปของอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบัน เว็บไซต์ส่วนมากยังคงเป็นแบบ Web 2.0 โดย Web 3.0 ถูกคาดว่าจะมีโครงสร้างพื้นฐานด้านความกระจายศูนย์มาจากเทคโนโลยี Blockchain อย่าง Bitcoin หรือ Ethereum เพื่อทำให้ข้อมูลมีความหลากหลายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Web 3.0 ก็ถูกมองว่าจะมีการนำเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น AI มาประยุกต์ใช้ร่วมด้วย เพื่อทำให้อินเทอร์เน็ตสามารถตอบสนองความต้องการของผู้คนได้มากยิ่งกว่าเดิม

 

ผู้ประกอบการท่านใด ต้องการเดินบนเส้นทางธุรกิจออนไลน์ ปรึกษา Exvention ได้เลยครับ นอกจากนี้เรายัง รับทำเว็บไซต์ อีกด้วยท่านใดสนใจติดต่อเราได้เลยครับ

 

Reference :
รู้จัก Web 3.0 ก้าวใหม่ของรูปแบบการใช้อินเทอร์เน็ต ทำไมถึงสำคัญ
Web 3.0 คืออะไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
Web 3.0 คืออะไร สำคัญอย่างไรกับการทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยี Blockchain
Web 3.0 คืออะไร เกี่ยวกับบล็อกเชนอย่างไร?